ทำไมเราไม่ฟังกัน: สิ่งสำคัญที่หล่นหาย เมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง

ทำไมเราไม่ฟังกัน: สิ่งสำคัญที่หล่นหาย เมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง

ถ้าเราไม่รู้จักฟัง เราจะรู้จักพูดได้อย่างไร

หนังสือสอนวิธีการพูดและการสื่อสารนั้นมีเป็นจำนวนมาก แต่มีไม่กี่เล่มที่บอกเราถึงวิธีการฟังที่ถูกต้องคืออะไร มีสักกี่คนที่บอกได้ว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการฟัง

ผู้เขียนได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้จากการสัมภาษณ์ การศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุดต่าง ๆ และได้นำเสนอเนื้อหาผ่านเรื่องราวต่าง ๆ คือ ศิลปะการฟังที่สาบสูญ ความรู้สึกเชื่อมประสาน: ประสาทวิทยาของการฟัง ฟังเสียงของความสงสัยใคร่รู้: สิ่งที่เราเรียนรู้จากเด็กวัยเตาะแตะ รู้นะว่าจะพูดอะไร: ข้อสันนิษฐานก็เหมือนกับที่อุดหู การตอบสนองแบบไม่รู้ระดับเสียง: ทำไมคนถึงชอบคุยกับสุนัขตัวเองมากกว่า พูดอย่างเต่า คิดอย่างกระต่าย: ความต่างระหว่างคำพูดกับความคิด ฟังความเห็นที่แตกต่าง: ทำไมถึงรู้สึกเหมือนกำลังถูกหมีไล่ตาม สนใจสิ่งที่สำคัญ: การฟังในยุคแห่งข้อมูลมหาศาล การฟังแบบด้นสด: เรื่องตลกระหว่างทางไปทำงาน ฟังตัวเอง: เสียงเจื้อยแจ้วเจรจาจากข้างใน สนับสนุนการสนทนา อย่าเบี่ยงประเด็น ค้อน ทั่ง โกลน: เปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นคลื่นสมอง สิ่งที่คำพูดปิดปังและความเงียบเปิดเผย ศีลธรรมของการฟัง: ทำไมการซุบซิบนินทาถึงดีต่อคุณ เมื่อไหร่ที่ควรหยุดฟัง

หนังสือเล่มนี้จะนำพาผู้อ่านไปสู่การทบทวนการฟังของตัวเอง รวมถึงผลในแง่ลบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากการไม่รู้จักฟัง

หนังสือ "ทำไมเราไม่ฟังกัน: สิ่งสำคัญที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : เมอร์ฟี่, เคท. (2563). ทำไมเราไม่ฟังกัน: สิ่งสำคัญที่หล่นหาย เมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง. [BF 323.L5 ม813ท 2563] 

ผู้จัดทำ :
จินตนา เอี่ยมคง, บรรณารักษ์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
วศินี มั่นกลัด, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
Created on