ถ้าแม่ฟังอยู่ โปรดรู้ว่าหนูคิดถึง

ถ้าแม่ฟังอยู่ โปรดรู้ว่าหนูคิดถึง

สงคราม ความขัดแย้ง หายนะ

ในช่วงระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 อินเดีย ได้รับเอกราชจากการปกครองของอังกฤษและถูกแบ่งเป็นสองสาธารณรัฐ คือ อินเดียและปากีสถาน โดยความไม่เห็นด้วยของประชาชนจำนวนมากที่ไม่อยากให้อินเดียถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ แต่ในท้ายที่สุดมีการตกลงกันโดยผู้ที่มีอำนาจ

ผู้เขียนได้ถ่ายทอดเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลก คือ อินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 แต่ทว่าเรื่องราวกลับไม่ได้สงบสุขหลังจากการแบ่งแยกเป็นประเทศอินเดียและปากีสถาน ผู้คนนับล้านต้องอพยพไปตามเส้นเขตแบ่งดินแดนใหม่ สร้างความไม่พอใจและความเกลียดชังแก่ชาวฮินดู ชาวอิสลาม ชาวซิกข์ และศาสนิกชนของคนกลุ่มน้อย เช่น พาร์ซิส คริสเตียน และเชน โดยช่วงระหว่างการข้ามพรมแดนเกิดความตรึงเครียดครั้งใหญ่เพิ่มขึ้น ทั้งการต่อสู้และฆ่าฟันระหว่างชาวมุสลิมที่จะเดินทางเข้าสู่ปากีสถานกับชาวฮินดูและศาสนิกชนอื่น ๆ ที่เข้าสู่อินเดีย ซึ่งมีความขัดแย้งเดิมอยู่แล้วได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนนำไปสู่การเข่นฆ่ามีผู้คนล้มตายจำนวนมากระหว่างการข้ามพรมแดน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้นับได้ว่าเป็นการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

หนังสือเล่มนี้เป็นประวัติศาสตร์อินเดียที่น่าศึกษาในเรื่องความขัดแย้งในหลายมิติ โดยผู้เขียนได้ถ่ายทอดประสบการณ์จริงผ่านตัวละครในลักษณะนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ทำให้การดำเนินเรื่องน่าอ่านและชวนติดตามเป็นอย่างยิ่ง

หนังสือ "ถ้าแม่ฟังอยู่ โปรดรู้ว่าหนูคิดถึง" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่ หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : วีรา หิรานันดานิ. (2563). ถ้าแม่ฟังอยู่ โปรดรู้ว่าหนูคิดถึง. [PZ 7 ว853ถ 2563]

ผู้จัดทำ :
จินตนา เอี่ยมคง, บรรณารักษ์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
วศินี มั่นกลัด, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
Created on