การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร (Carbon Credit) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Script Writer
พรรณทิภา นิลโสภณ, วิทยากรเชี่ยวชาญ กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ
Broadcast Date
2023-02
Publication type
Publisher
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

เมื่อประชากรทั่วโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้นและการทำกิจกรรมด้านต่าง ๆ ส่วนหนึ่งอาจก่อให้เกิดมลพิษเป็นผลเสียต่อสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ซึ่งอาจมีผลกระทบที่สำคัญต่อโลก กล่าวคือ ก๊าซเรือนกระจกเป็นก๊าซชนิตหนึ่งที่มีคุณสมบัติตดูดซับคลื่นความร้อนหรือรังสีอินฟราเรต ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศให้คงที่แต่ถ้ามีจำนวนมากเกินไปอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการละลายของน้ำแข็ง สภาพอากาศแปรปรวน เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วก๊าชเรือนกระจกที่ปริมาณเพิ่มขึ้เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จากภาศอุตสาหกรรมเป็นหลัก จึงมีการใช้กลไกตลาดเพื่อจูงใจให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไชต์ โดยมีการซื้อขายเรียกว่า คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)เกิดขึ้น ดังนั้น ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครติดจึงเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดก๊ชเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้ ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติได้เห็นความสำคัญของการลดก๊าซเรือนกระจก จึงกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยมีเป้าหมายที่ 13 คือ ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

ในส่วนของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาให้มีการผลักดัน เรื่อง คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ไปสู่การปฏิบัติ โดยประเทศไทยได้มีการจัดตั้งองค์การบริทารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมทาชน) หรือ อบก. เป็นหน่วยงานที่จัดทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศด้วยความสมัครใจ โดยสามารถนำปริมาณการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการรับรองที่ เรียกว่า คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ไปขายในตลาดคาร์บอนภาศสมัครใจภายในประเทศได้ ซึ่งกิจกรรมที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กำหนดไว้ให้สามารถนำมาขายคาร์บอนเครดิตได้นั้นมีหลายประเภท แต่ที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร คือ การปลูกป่าอย่างยั่งยืน สวนไม้เศรษฐกิจโตเร็ว และการทำการเกษตร

การปลูกป่าอย่างยั่งยืนจะต้องเป็นไม้ยืนต้นที่เนื้อไม้มีวงปีแต่ละปีมีความหนาของลำต้นเพิ่มขึ้นขนาดพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 10 ไร่ สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ไม่เกิน 16,000 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าต่อปี โดยมีการปลูกและดูแลอย่างถูกวิธีตามหลักวิชาการ หากเป็นพื้นที่ป่าต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าตั้งเดิมและไม่มีการนำไม้ออกมาทั้งหมดในช่วง 10 ปี ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ และที่สำคัญจะต้องมีเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินทางกฎหมาย โดยต้นไม้ที่สามารถขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ได้มี 58 ชนิด เช่น ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนชันตาแมว ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา) ไม้สัก เป็นต้น

ส่วนสวนไม้เศรษฐกิจโตเร็วนั้น จะต้องเป็นต้นไม้ยืนต้นโตเร็วตามที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กำหนดไว้ เช่น ปาล์มน้ำมัน ไผ่ มะพร้าว เป็นต้น โดยต้องมีการปลูกและดูแลอย่างถูกวิธี ก่อนดำเนินโครงการต้องไม่เป็นพื้นที่ที่มีการตัดไม้ยืนต้นออกก่อนครบอายุรอบตัดฟันเพื่อทำการปลูกไม้ยืนต้นโตเร็วรอบใหม่ ซึ่งกำหนดรอบตัดฟันไม่น้อยกว่า 10 ปี และไม่มีการนำไม้ออกมาตลอด 10 ปี แต่สามารถตัดแต่งบำรุงรักษาต้นไม้ได้ หากเป็นพื้นที่ป่าต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าดั้งเดิม และมีเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินทางกฎหมาย การดูแลที่มีผลต่อการกักเก็บคาร์บอนประกอบด้วย การปลูกที่เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ เตรียมกล้าไม้ วิธีปลูก การดูแลกำจัดวัชพืช การให้น้ำ และการจัดการพื้นที่อย่างถูกวิธี เป็นต้น

การทำการเกษตร กลุ่มที่มีการปล่อยก๊าชเรือนกระจกมากที่สุดในภาคการเกษตร คือ การทำนาข้าว ขั้นตอนของการเตรียมแปลงนามีการขังน้ำในแปลงเพื่อย่อยสลายตอซังข้าว ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะช่วงการปล่อยน้ำเข้านา นาข้าว 1 ไร่ อาจเกิดก๊าซมีเทนได้ตั้งแต่หลักสิบถึงหลักพันกิโลคาร์บอนและก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่ากับการใช้น้ำมันตั้งแต่ 1 - 100 ลิตร ทั้งนี้ กรมการข้าวได้พัฒนาการทำนาข้าวลดโลกร้อน ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก คือ การปรับหน้าดินด้วยแสงเลเซอร์ การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการจัดการฟางและตอซังข้าว ความสำคัญของปัญหานี้ คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าขั้นตอนการทำนาข้าวบางขั้นตอนก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และไม่ทราบวิธีการทำนาข้าวลดโลกร้อนดังกล่าว นอกจากนั้น การสมัครเป็นผู้ขายคาร์บอนเครดิตจะต้องขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าชเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ราคาซื้อขายเป็นไปตามที่ตกลงกันเองระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อปัจจุบันราคาอยู่ที่ 120 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยจะอยู่ที่ 231,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร (Carbon Credit) เป็นแนวทางที่ประชาคมโลกกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นแนวทางที่มีศักยภาพเชิงต้นทุน เมื่อเทียบกับการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคกิจกรรม อื่น ๆ และยังมีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาวได้อีกด้วย รวมทั้งเกษตรกรยังสามารถนำไปสร้างรายได้ ส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ภาพปก