Information Technology Resources Development Division

บุคลากรของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาดูงาน เรื่อง การขอรับรองคลังสารสนเทศตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล

English
Start date
End date
Event type
ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 309 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 309 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา บุคลากรของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาดูงานเรื่อง การขอรับรองคลังสารสนเทศตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล โดยนายมาณิช อินทฉิม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ พร้อมด้วยคณะทำงานพัฒนาคลังสารสนเทศรัฐสภาตามมาตรฐานสากลให้การต้อนรับ และให้คำแนะนำการขอรับรองมาตรฐานดังกล่าว

แหล่งที่มา : LIRT : คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

Year
2023

คณะครูและนักเรียนโรงเรียนอุดมดรุณี โครงการห้องเรียนพิเศษนิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์ (LPSP) ประจำปีการศึกษา 2565 ในโอกาสศึกษาดูงานและเยี่ยมชมรัฐสภา

English
Start date
End date
Event type
ณ ห้องจัดเลี้ยง 110 (ฝั่งริมแม่น้ำ) F1 อาคารรัฐสภา

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียนโรงเรียนอุดมดรุณี โครงการห้องเรียนพิเศษนิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์ (LPSP) ประจำปีการศึกษา 2565 ในโอกาสศึกษาดูงานและเยี่ยมชมรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องจัดเลี้ยง 110 (ฝั่งริมแม่น้ำ) F1 อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียนโรงเรียนอุดมดรุณี โครงการห้องเรียนพิเศษนิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์ (LPSP) ประจำปีการศึกษา 2565 ในโอกาสศึกษาดูงานและเยี่ยมชมรัฐสภา โดยเฉพาะการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ผ่านการรับรองว่าเป็นคลังสารสนเทศที่เชื่อถือได้ตามมาตรฐานสากล CoreTrustSeal ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นคลังสารสนเทศดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย เป็นแห่งที่ 3 ของเอเชีย และเป็นลำดับที่ 126 ของโลก เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้คณะครูและนักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงในการศึกษาด้านนิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์ จากสถานที่จริง รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษนิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์ (LPSP) ให้ได้ฝึกปฏิบัติการตามกระบวนการของผู้นำจากแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดประโยชน์ด้านการเรียนและพัฒนาทักษะกระบวนการทางสังคมของนักเรียน โดยมี นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุโขทัย พรรคพลังประชารัฐ ร่วมรับฟัง

ทั้งนี้ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวให้โอวาทกับคณะครูและนักเรียน ในฐานะบุคคลต้นแบบด้านวินัยรับผิดชอบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ของคณะ และบรรยายพิเศษเรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้รับรางวัลคุณธรรมอวอร์ด ปี 2564 ประเภทบุคคล ด้านวินัยรับผิดชอบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 จากศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ณ กระทรวงวัฒนธรรม โดยได้กล่าวต้อนรับคณะครูและนักเรียนด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งเพราะถือว่าเราได้รับเกียรติจากยุวชนที่จะเป็นกำลังของชาติมาศึกษาดูงานและเยี่ยมชมรัฐสภา และได้เล่าถึงชีวิตในวัยเด็ก วัยเรียน ที่ได้มีความมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด พร้อมทั้งได้เล่าประสบการณ์ทำงานที่ได้เคยทำงานเป็นครูผู้ช่วยที่ จังหวัดสุโขทัย เป็นเวลา 6 เดือน ก่อนเข้ามาทำงานที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่สมัยที่เข้ามาทำงานใหม่ ๆ และมีคติประจำตัวคือทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด นี่คือวิถีที่สร้างตนเองจนกระทั่งเติบโตมาถึงทุกวันนี้ รวมทั้งวิถีการใช้ชีวิตที่พอเพียง และในระหว่างที่ทำงานตั้งแต่เป็นข้าราชการตัวเล็ก ๆ ตนได้รับความชื่นชมจากผู้ที่ได้ร่วมงานด้วยโดยตนเป็นผู้นำสร้างนวัตกรรม เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สร้างกระบวนความคิด การเปลี่ยนแปลงงานในทุกหน่วยที่ตนได้เข้าไปร่วมงาน ซึ่งการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของตนนั่นเป็นผลมาจากการรู้หน้าที่ของตนเอง ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ใช้วิถีชีวิตอย่างพอเพียง รู้หลักการครองตน ครองคน ครองงาน การใช้ชีวิตภายใต้กฎระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ จึงทำให้มีความก้าวหน้าในชีวิตราชการ และกล่าวถึงการได้รับเข็มเกียรติยศจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มอบให้เมื่อปี 2564 ในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น เพื่อให้น้อง ๆ ได้เห็นว่าเมื่อเราตั้งใจเรียน ตั้งใจประกอบอาชีพ อยู่ในกรอบคุณงามความดีแล้วเราจะประสบความสำเร็จ และเมื่อปี 2565 ตนได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นในวาระครบรอบ 50 ปีของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

ทั้งยังได้กล่าวถึงการเรียนรู้ว่า การที่เราเรียนรู้ให้มากนั้นเป็นเรื่องที่ดีและเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของภาษาซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นการเติมคุณค่าให้ตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย การที่เรารู้ภาษามากจะเป็นข้อได้เปรียบในสภาวะการแข่งขันที่ต่อไปเราสามารถนำมาใช้ในวิชาชีพที่เราจะประกอบอาชีพได้ในอนาคตในส่วนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกให้เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบนั้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 สำนักงานฯ ได้รับการประกาศยกย่องจากคณะกรรมการคุณธรรมแห่งชาติ ให้เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบดีเด่นระดับชาติ เป็น 1 ใน 8 ของระดับชาติซึ่งได้รับรางวัลจากนายกรัฐมนตรี พร้อมกันนั้นสำนักทั้งหมด 24 สำนัก ยังได้รับการประกาศเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบด้วย จึงเป็นความภาคภูมิใจของสำนักงานฯ และบุคลากรทุกคน ที่ได้ใช้เวลาประมาณ 5 ปี ในการสร้างองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กร และความดีความงามขององค์กร


นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงบ้านเมืองสุจริต ซึ่งมีหลักการที่เป็นแนวทางอยู่ 8 ข้อ โดยคณะกรรมการบ้านเมืองสุจริต ได้ถอดบทเรียนจนสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง และได้ร่วมกันสร้างบ้านเมืองสุจริตซึ่งเป็นภาพใหญ่ของประเทศ แต่ในที่สุดแล้วก็ลงมายังคน เพราะการสร้างบ้านเมืองสุจริตได้ต้องประกอบด้วยคนดีในสังคม ทั้งนี้ การประพฤติปฏิบัติตนที่ดีเพื่อเสริมสร้างบ้านเมืองสุจริตที่ดีมี 8 ข้อ ดังนี้ 

  1. การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต้องตระหนักและนำหลักประชาธิปไตยไปใช้ในชีวิตอย่างเป็นนิสัย ยึดหลักความเสมอภาค หลักนิติธรรม หลักความมีเหตุผล หลักการถือเสียงข้างมาก นี่คือหลักของระบอบประชาธิปไตย
  2. ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นในคุณงามความดี ประพฤติปฏิบัติตนตามคุณงามความดีที่ยึดมั่นจนเป็นนิสัย เพราะเมื่อเป็นนิสัยแล้วเราจะสามารถมองหน้าคนอื่นได้อย่างสุจริตใจว่าเราเป็นคนที่มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นความดีงามที่ระเบิดจากข้างในมาสู่ข้างนอกที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะต้องปลูกฝังเข้าไปในจิตสำนึกของเรา
  3. การมีจิตสำนึกที่ดี มีความตั้งใจและรับผิดชอบในการงานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักเสียสละ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมต่อการปฏิบัติตนของตนเอง
  4. การมีสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซึ่งสังคมจะดีต่อเมื่อมีผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ พร้อมที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่อยู่ในอำนาจที่ตนได้รับมอบให้ปฏิบัติ พร้อมที่จะตรวจสอบได้ โดยการรู้หน้าที่จะทำให้บ้านเมืองเกิดความสุจริต

ที่มา : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

Year
2023

พิธีมอบรางวัลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

English
Start date
End date
Event type
ห้องประชุมสัมมนา B1 - 1 ชั้น B 1 อาคารรัฐสภา

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนายณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ เข้าร่วมรับฟังการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อฝากไว้ก่อนจาก วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 13.00 - 16.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนา B1 - 1 ชั้น B 1 อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนายณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ เข้าร่วมรับฟัง การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อฝากไว้ก่อนจาก โดย 
นางสุภาวดี ขีดขิน ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ ก.ร. 
นายนพรัตน์ ทวี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณของรัฐสภา 
นางสาวรุ่งนภา ขันธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักบริการทางการแพทย์ประจำรัฐสภา 

และการอภิปรายเรื่อง องค์ความรู้ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 4 องค์ความรู้ โดยผู้แทนจากคณะอนุกรรมการจัดทำองค์ความรู้ยุทธศาสตร์ที่ 1 - 4 ในการนี้ คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมรับฟังการอภิปราย

จากนั้น นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ผลงานที่ได้รับรางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ 

1. ผลงาน เรื่อง การพัฒนาคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติสู่มาตรฐานสากล CoreTrustSeal โดย สำนักวิชาการ

2. ผลงาน เรื่อง การให้บริการด้านงานพิมพ์ของสำนักการพิมพ์ ผ่าน Application LINE Official Account โดย สำนักการพิมพ์

3. ผลงาน เรื่อง การประยุกต์ใช้เทรลโล่ (Trello) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร โดย นายภูเบต เส็นบัตร นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ กลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ 1 สำนักงบประมาณของรัฐสภา 

ผลงานที่ได้รับรางวัลระดับดี ได้แก่ 

1. ผลงาน เรื่อง ระบบลงทะเบียนออนไลน์โดยเชื่อมต่อเข้าสู่ห้องอบรมออนไลน์อัตโนมัติ โดย น.ส.ณัฐภรณ์ แก้วดวงดี นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ กลุ่มงานพัฒนาและฝึกอบรม สำนักพัฒนาบุคลากร 

2. ผลงาน เรื่อง คู่มือการปฏิบัติงานของสำนักรักษาความปลอดภัย โดย คณะทำงานบริหารจัดการความรู้ของสำนักรักษาความปลอดภัย

3. ผลงาน เรื่อง การจัดการข้อมูลกลุ่มเป้าหมายให้เป็น Dynamic report ด้วย Google Data Studio (GSD) โดย สำนักประชาสัมพันธ์

4. ผลงาน เรื่อง การพัฒนาการจัดทำประเด็นประกอบการสนทนาในวาระการเยี่ยมคารวะระหว่างประธานรัฐสภากับบุคคลสำคัญชาวต่างประเทศ โดย กลุ่มงานข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

5. ผลงาน เรื่อง โครงการพัฒนาศักยภาพในการยกร่างข้อมติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ

6. ผลงาน เรื่อง การผลิตรายการเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา “Talk on Time” โดย สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา 

7. ผลงาน เรื่อง กิจกรรมการเพิ่มทักษะการใช้สื่อการประชุมออนไลน์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานช่วง WFH โดย สำนักภาษาต่างประเทศ 

8. ผลงาน เรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ โดย สำนักกรรมาธิการ 3

9. ผลงาน เรื่อง คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์การให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดย คณะทำงานบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) โดย สำนักนโยบายและแผน

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการจัดการความรู้ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคลากรของสำนักงานฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ตลอดจนมีแผนการจัดการความรู้ของสำนักงานฯ และมีการดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ของสำนักงานฯ รวมทั้งให้บุคลากรของสำนักงานฯ มีองค์ความรู้ที่สามารถเผชิญกับบริบทการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยภายนอกและผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต และเป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ในสำนักงานฯ

ที่มา : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

Year
2022

กิจกรรม Citation Guru ส่งต่อความรู้เรื่องอ้างอิงการจัดฝึกอบรมหลักสูตร “Citation Guru" รุ่นที่ 2

English
Start date
End date
Event type
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม Citation Guru ส่งต่อความรู้เรื่องอ้างอิงการจัดฝึกอบรมหลักสูตร “Citation Guru" รุ่นที่ 2

วิทยากร นางสาวปรียานุช คลอวุฒิวัฒน์ บรรณารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการอ้างอิงที่ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคู่มือการจัดทำเอกสารวิชาการ ของสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการอ้างอิงตามรูปแบบอื่น ๆ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดต่อให้กับเพื่อนร่วมงาน
  3. เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นคุณค่าของจริยธรรมทางวิชาการ และเป็นการประชาสัมพันธ์รูปแบบการอ้างอิงของสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นที่รู้จัก

กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
จัดโดย กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันและเวลา วันที่ 8 กันยายน 2565 เวลา  13.00-16.00 นาฬิกา

Year
2022

กิจกรรม Citation Guru ส่งต่อความรู้เรื่องอ้างอิงการจัดฝึกอบรมหลักสูตร “Citation Guru" รุ่นที่ 1

English
Start date
End date
Event type
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม Citation Guru ส่งต่อความรู้เรื่องอ้างอิงการจัดฝึกอบรมหลักสูตร “Citation Guru" รุ่นที่ 1

วิทยากร นางสาวปรียานุช คลอวุฒิวัฒน์ บรรณารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการอ้างอิงที่ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคู่มือการจัดทำเอกสารวิชาการ ของสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการอ้างอิงตามรูปแบบอื่น ๆ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดต่อให้กับเพื่อนร่วมงาน
  3. เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นคุณค่าของจริยธรรมทางวิชาการ และเป็นการประชาสัมพันธ์รูปแบบการอ้างอิงของสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นที่รู้จัก

กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
จัดโดย กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันและเวลา วันที่ 26 สิงหาคม 2565 เวลา  13.00-16.00 นาฬิกา

Year
2022

รับมอบประกาศนียบัตรหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลคอร์ทรัลซีล (CoreTrustSeal) ในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล

English
Start date
End date
Event type
หอสมุดรัฐสภา ชั้น 9 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ หอสมุดรัฐสภา ชั้น 9 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รับมอบประกาศนียบัตรหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลคอร์ทรัลซีล (CoreTrustSeal) ในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล ซึ่งนายมาณิช อินทฉิม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ เป็นผู้แทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รับมอบจาก ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)" จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอก คอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ในการนี้ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้มอบนโยบายแก่สำนักวิชาการ โดยให้มีการทำงานที่มุ่งเน้นความสำคัญในเรื่องของ การวิเคราะห์ Content ในเชิงคุณภาพ ในฐานะที่หอสมุดรัฐสภาเป็นแหล่งข้อมูลนิติบัญญัติแห่งเดียวในประเทศไทย ทั้งนี้ การรับรองมาตรฐาน CoreTrustSeal ในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล เป็นการรับรองคุณภาพคลังสารสนเทศดิจิทัลขั้นพื้นฐานตามกรอบยุโรปว่าด้วยการตรวจสอบและรับรองคลังสารสนเทศดิจิทัลที่มีแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลผลการวิจัยที่จัดเก็บในคลังสารสนเทศ และเพื่อประเมินคุณภาพคลังสารสนเทศดิจิทัล รวม 16 ข้อกำหนด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
  2. การจัดการวัตถุดิจิทัล
  3. เทคโนโลยี

ซึ่งคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (Legislative Institutional Repository of Thailand : LIRT) พัฒนาโดยกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยเป็นคลังสารสนเทศดิจิทัลแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน CoreTrustSeal


ที่มา สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

Year
2022

ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ เป็นผู้แทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รับมอบประกาศนียบัตรหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล CoreTrustSeal ในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล

English
Start date
End date
Event type
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

นายมาณิช อินทฉิม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ เป็นผู้แทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รับมอบประกาศนียบัตรหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล CoreTrustSeal ในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล จาก ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)" วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565 เวลา 11.30 นาฬิกา ณ ห้อง Lotus 5-7 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ  จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัย โดยการรับรองมาตรฐาน CoreTrustSeal ในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัลเป็นการรับรองคุณภาพคลังสารสนเทศดิจิทัลขั้นพื้นฐานตามกรอบยุโรปว่าด้วยการตรวจสอบและรับรองคลังสารสนเทศดิจิทัลที่มีแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลผลการวิจัยที่จัดเก็บในคลังสารสนเทศ และเพื่อประเมินคุณภาพคลังสารสนเทศดิจิทัลรวม 16 ข้อกำหนดประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
  2. การจัดการวัตถุดิจิทัล และ
  3. เทคโนโลยีซึ่งคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (Legislative Institutional Repository of Thailand : LIRT)

พัฒนาโดยกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยเป็นคลังสารสนเทศดิจิทัลแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน CoreTrustSeal

ที่มา สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

Year
2022

รับมอบดอกไม้เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคอร์ทรัสซีล

English
Start date
End date
Event type
ณ หอสมุดรัฐสภา ชั้น 9 อาคารรัฐสภา

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รับมอบดอกไม้จากนายมาณิช อินทฉิม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ และคณะ ซึ่งได้รับจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคอร์ทรัสซีล ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565 เวลา 12.00 นาฬิกา ณ หอสมุดรัฐสภา ชั้น 9 อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รับมอบดอกไม้จากนายมาณิช อินทฉิม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ และคณะ ซึ่งได้รับจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคอร์ทรัสซีล ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ทั้งนี้ คลังสารสนเทศฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานต้นแบบ 1 ใน 4 ประกอบด้วย

  1. คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อประเทศไทย
  3. ศูนย์ข้อมูลการวิจัยดิจิทัล สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  4. คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โดยเมื่อวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2565 ได้รับแจ้งจากทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานผู้ประเมิน (CoreTrustSeal Secretariat) ว่าคลังสารสนเทศฯ ผ่านการประเมินตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล
โดยเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว เป็นแห่งที่ 3 ของเอเชียและเป็นแห่งที่ 126 ของโลก ซึ่งการรับรองนี้มีผล 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2565  ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 และได้รับอนุญาตให้ติดตั้งเครื่องหมายสัญลักษณ์แสดงการได้รับการรับรองมาตรฐานคอร์ทรัสซีลบนเว็บไชต์คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ

โอกาสนี้ นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้มอบช่อดอกไม้คืนให้กับนางศิริพร โหตรภวานนท์ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการและคณะ พร้อมให้กำลังใจในการปฎิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น


ที่มา :  สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

Year
2022

กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 5 การบรรยาย หัวข้อ “หอสมุดรัฐสภากับความคาดหวังของบุคลากรรัฐสภา”

English
Start date
End date
Event type
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา  ครั้งที่ 5 การบรรยาย หัวข้อ “หอสมุดรัฐสภากับความคาดหวังของบุคลากรรัฐสภา”

วิทยากร : นายนพรัตน์ ทวี  ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
นางอรณิช รุ่งธิปานนท์  ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานกิจการพิเศษ สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
นายอภิวัฒน์ สุดสาว นิติกรชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา


วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ
จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันและเวลา : วันพุธ 15 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00-15.30 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

  • ควรมีการจัดทำแผนการดำเนินงานของหอสมุดรัฐสภาให้ชัดเจน เพราะแผนจะเชื่อมโยงไปถึง การจัดบริการที่สอดคล้องกัน และทำให้บุคลากรหอสมุดมีความเข้าใจที่ตรงกันในทิศทางเดียวกัน
  • หอสมุดรัฐสภาควรสร้างอัตลักษณ์ขององค์กร เพื่อให้เกิดจุดเด่นที่สามารถดึงดูดคนให้สนใจ ในบริการของหอสมุดรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนิติบัญญัติ รายงานการประชุมสภา และรายงาน การประชุมกรรมาธิการต่าง ๆ
  • หอสมุดรัฐสภาควรเน้นการให้บริการเชิงรุก เพื่อทำให้ผู้ใช้บริการเห็นความสำคัญ เพราะข้อมูลจากหอสมุดรัฐสภาย่อมจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าข้อมูลที่เผยแพร่อยู่ทั่วไป
  • การให้พัฒนางานควรร่วมมือกันเป็นทีมโดยกำหนดคนรับผิดชอบหลักเพื่อให้สามารถให้นำไปใช้เป็นผลงานในการประเมินได้ด้วย
  • หอสมุดรัฐสภาควรเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่เอกสารวิชาการของสำนักงาน หากใครต้องการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา ควรหาได้จาก Platform กลางซึ่งหอสมุดรัฐสภาได้รวบรวมไว้ให้ ไม่ต้องไปค้นจากหลายแหล่ง
  • หอสมุดควรเป็นหน่วยที่สามารถให้ความช่วยเหลือบุคลากรรัฐสภาในเรื่องของการสืบค้นข้อมูล การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การอ้างอิง การขอ ISBN และการแนะนำการจัดทำเอกสารวิชาการให้มีความน่าเชื่อถือ
  • ควรเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประชาธิปไตยสำหรับประชาชนทั่วไป และเป็นผู้ผลิตข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐสภาแบบง่าย ๆ เพื่อให้ทุกคนนำองค์ความรู้นี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
Year
2022

กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 4 การบรรยาย หัวข้อ “ความสำคัญของสารสนเทศในมุมมองของนักวิชาการและอนุกรรมาธิการ”

English
Start date
End date
Event type
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

 

กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 4 การบรรยาย หัวข้อ “ความสำคัญของสารสนเทศในมุมมองของนักวิชาการและอนุกรรมาธิการ”

วิทยากร :

ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ    อนุกรรมาธิการฯ ในคณะกรรมาธิการ การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร

นางสาวอัปสร กฤษณะสมิต อนุกรรมาธิการฯ ในคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร

อาจารย์เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา อาจารย์สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.00-12.00 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

  • ทำให้ทราบแหล่งสารสนเทศสำคัญในสองสาชาวิชา ได้แก่ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ซึ่งสามารถนำมารวบรวมจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อและ link เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ
  • บุคลากรรัฐสภาที่มีหน้าที่ในการให้บริการสารสนเทศ ได้เห็นแนวทางพัฒนาการทำงานและการให้บริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการกลุ่มที่เป็นอนุกรรมาธิการ และนักวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของหอสมุดรัฐสภา งานจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
  • เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างอัตลักษณ์ขององค์กร เพื่อให้เกิดจุดเด่นที่สามารถดึงดูดคนให้สนใจในบริการของรัฐสภา ในลักษณะการเป็น Landmark ที่คนต้องนึกถึง
  • เกิดแนวคิดในการพัฒนางานบริการสารสนเทศในการให้เป็นบริการเพื่อสนองต่อประชาชนมากขึ้น
  • การให้บริการสารสนเทศโดยร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อให้การบริการเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
  • ควรพัฒนาแนวทางในทางกายภาพให้เกิดบรรยากาศที่ทันสมัย และสามารถเป็นพื้นที่ทำงานร่วมกันโดยอาจจัดเป็นโซนต่าง ๆ
Year
2022
Subscribe to Information Technology Resources Development Division