การประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 4 เรื่อง อนาคตประเทศไทยในมิติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ: ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากสถาบันคลังสมองของชาติ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2564 ให้ดำเนินงานโครงการประสานงานสนับสนุนทุนวิจัยและผลักดันการใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยเชิงนโยบายตามความต้องการของรัฐสภาและหน่วยงานภาครัฐ และดำเนินงานขับเคลื่อนให้ผลงานวิจัยของ วช. ได้นำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบกับเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เห็นชอบให้สำนักวิชาการดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งจัดขึ้นในวันพุธที่ 26 มกราคม 2565 เวลา 13.00-16.30 นาฬิกา โดยเป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom
การบรรยายพิเศษ: มิติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรม
แรงขับเคลื่อน (Driving Forces) แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ
- สังคม
- เทคโนโลยี
- เศรษฐกิจ
- สิ่งแวดล้อม
- การเมือง
แรงขับเคลื่อน (Forces) แบ่งออกได้เป็น 4 ฉากทัศน์
- พยัคฆ์เหยียบเมฆ
- อาชาติดปีก
- ผู้เบิกไพร
- พายุผีเสื้อ
การพิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
ผลกระทบของผู้ประกอบการ จะเป็นแรงกดดันต่อผู้ประกอบการที่จะต้องเริ่มมองแล้วว่า เมื่อเราเริ่มที่จะวางแผนกลยุทธ์ วางแผนองค์กร วางทิศทางขององค์กรหรือธุรกิจ จะต้องมีประเด็นเรื่องจริยธรรมและสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบต่าง ๆ ทางการค้าจะเห็นมากขึ้น
การบรรยายพิเศษ: มิติเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก เกษตรกรรมและการบริการ
1. ฉากทัศน์ด้านเศรษฐกิจไทย
ขั้นตอนการร่างฉากทัศน์ด้านเศรษฐกิจไทย
- ข้อมูลพื้นฐานและทิศทาง
- การวิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อน
- ถอดปัจจัยที่สำคัญ
- ร่างฉากทัศน์
ปัจจัยสำคัญ
- ปัจจัยด้านสังคม
- ปัจจัยทางเทคโนโยลี
- ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
- ปัจจัยทางด้านการเมือง
ปัจจัยเชิงคุณค่า
- ฉากทัศน์ที่ 1 เศรษฐกิจเทียมเกวียน
- ฉากทัศน์ที่ 2 อยู่ในบางภาคเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว
- ฉากทัศน์ที่ 3 เศรษฐกิจพวกพ้อง
- ฉากทัศน์ที่ 4 เศรษฐกิจคุณภาพ
2. ฉากทัศน์ด้านการคลัง
- หมวดรายจ่ายภาครัฐ
- หมวดรายได้ภาครัฐ
- หมวดการบริหารจัดการภาครัฐ
-การพัฒนาภาคการเกษตร มาตรการอุดหนุนเกษตรกรในระยะสั้นมีความจำเป็นเพราะว่าโรคโควิด 19 ระบาด ประชาชนไม่สามารถหางานในภาคการท่องเที่ยว
-การพัฒนาภาคการบริการ การท่องเที่ยว ภาคการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
-การพัฒนาภาคบริการ (Digital Economy)
- หมวดที่ 1 ความเหลื่อมล้ำและความยากจน
- หมวดที่ 2 ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ
- หมวดที่ 3 ฐานเศรษฐกิจใหม่ (Digital Currency, Digital Assets และ Metaverse)