สรุปผลการประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 6 เรื่อง อนาคตประเทศไทยในมิติคนไทย 4.0 : ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 6 เรื่อง อนาคตประเทศไทยในมิติคนไทย 4.0: ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากสถาบันคลังสมองของชาติภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2564 ให้ดำเนินโครงการประสานงานสนับสนุนทุนวิจัยและผลักดันการใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยเชิงนโยบายตามความต้องการของรัฐสภาและหน่วยงานภาครัฐ และดำเนินงานขับเคลื่อนให้ผลงานวิจัยของ วช. ได้นำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00–12.00 นาฬิกา โดยเป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

1. การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มประเทศไทย”

  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ 
  • ความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตร ซึ่งลดลงค่อนข้างมาก 
  • ด้านอุตสาหกรรม ประเทศไทยอยู่ในลักษณะของการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ประกอบกับในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาการลงทุนในประเทศไทยลดลงมาเรื่อย ๆ
  • ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ในอนาคตด้านการท่องเที่ยวจะเป็นอย่างไรยังเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันต่อไป 
  • การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนคือ การทำให้เป็นอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น อุตสาหกรรมไอที ซึ่งประเทศไทยมีอุตสาหกรรมประเภทนี้แต่ยังมีไม่เพียงพอ

เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19

  • มาตรการการคลังในการส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ยกระดับเศรษฐกิจท่องเที่ยวให้เป็นเศรษฐกิจดิจิทัลและนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาเป็นองค์ประกอบของการท่องเที่ยวทุกขั้นตอน
  • กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้สามารถดูแลการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้มาตรการระดับมหภาคส่งเสริมนโยบายในพื้นที่ในการแก้ปัญหาฝุ่นควันพิษ
  • กระจาย ขยายและเพิ่มความหลากหลายในห่วงโซ่การผลิตทำให้การท่องเที่ยว
  • สนับสนุนให้ภาษาจีนเป็นภาษาทางเลือกที่สอนในโรงเรียน

 

2. การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ฉากทัศน์ประเทศไทย 2585”

  • การฉายภาพอนาคตประเทศไทย
  • แนวทางการสร้างฉากทัศน์
  • ความท้าทายหลักสำหรับอนาคตประเทศไทย 

การพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจสีเขียว

ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ 

ประเทศไทยมีเงื่อนไขที่เป็นหลักการพื้นฐานจำเป็นที่ทำให้ประเทศไทยลดความเสี่ยงเชิงระบบและเพิ่มความสามารถในการรับมือและตั้งหลักใหม่ ซึ่งประเทศไทยจำเป็นจะต้องรักษาและเพิ่มความหลากหลายทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและพื้นที่ในทุก ๆ มิติของประเทศไทย ความหลากหลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ แต่ความหลากหลายอย่างเดียวไม่เพียงพอจะต้องเป็นความหลากหลายที่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นธรรม และเรื่องของผลลัพธ์คือ การกระจายทรัพยากรแต่รวมไปถึงความเป็นธรรมในเชิงกระบวนการ ซึ่งจำเป็นจะต้องมียุทธศาสตร์หลัก 4 ประการด้วยกัน คือ
1. สานเสวนากติกาประชาชน ได้แก่ การจัดเสวนาประชาคมระดับชุมชน เมือง ภูมิภาคไปจนถึงประเทศ เพื่อปรับปรุงกติกาเดิมและสร้างกติกาใหม่ และการสร้างสัญญาประชาคมรูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัลและยุคเศรษฐกิจสีเขียว


2. ดิจิทัลภิวัฒน์ ได้แก่ 1) การเข้าถึงดิจิทัลเป็นสวัสดิการพื้นฐาน เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เพียงเพื่อ New S Curve แต่รวมไปถึงเศรษฐกิจฐานราก 2) การจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสังคม 3) การกำหนดยุทธศาสตร์ดิจิทัลไทยในยุคโลกสองขั้ว และ 4) การจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ


3. การกระจายแบบเครือข่าย ได้แก่ 1) การกระจายอำนาจที่มากกว่าการถ่ายโอนภารกิจ แต่เพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น 2) การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและสู่ชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ 3) การลงทุนในการพัฒนาเมืองหลักและเมืองรองในภูมิภาค และ 4) การจัดทำงบประมาณอย่างมีส่วนร่วม


4. รื้อสร้างและประกอบใหม่ ได้แก่ 1) ปฏิรูประบบราชการทุกด้าน 2) ปฏิรูประบบและกระบวนการยุติธรรมให้เป็น rule of law ไม่ใช่ rule by law 3) พัฒนาระบบสวัสดิการด้านรายได้ และ 4) การลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน

Event Date
2022-02-24
Year
2022
Source of Knowledge
From a Training, Meeting or Seminar
Author
กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ