วิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหามลพิษเป็นปัญหาสำคัญของโลกส่งผลกระทบในวงกว้าง จากปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์ “เอลนิญโญ-ลานิญญา” อย่างเต็มรูปแบบ อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นและอุบัติการณ์ภัยพิบัติรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนเป็นผลมาจากการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้นานาชาติต่างให้ความสนใจในปรากฏการณ์โลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ได้มีการบรรลุข้อตกลงเพื่อควบคุมปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดการปล่อยมลพิษระดับชาติ โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในการประชุม COP26 จึงได้ประกาศเป้าหมายสำคัญ คือ ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065
ในการนี้ ประธานรัฐสภาในฐานะประมุขฝ่ายนิติบัญญัติจึงได้ประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า“รัฐสภาสีเขียว” ว่า รัฐสภามีความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสู่การเป็นรัฐสภาสีเขียว (Green Parliament) โดยมีแนวทาง ดังนี้
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านธุรการของสภาผู้แทนราษฎร ได้เล็งเห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขทั้งจากองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้ประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการ บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และบุคคลทั่วไปที่เข้ามาในบริเวณอาคารรัฐสภามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสู่การเป็น Green Parliament และดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย
Copyright © 2022 National Assembly Library of Thailand
The Secretariat of the House of Representatives
1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
Tel: +66(0) 2242 5900 ex 5714, 5715, 5721-22 Fax: +66(0) 2242 5990
Email: library@parliament.go.th