การแพร่ระบาดต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในปี 2563 และ 2564 ส่งผลกระทบรุนแรงทำให้ธุรกิจการบินทั่วโลกมีผลดำเนินงานขาดทุน หลังจากนั้นในปี 2565 ธุรกิจสายการบินทยอยฟื้นตัวจากการฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วโลก ส่งผลให้เกือบทุกประเทศทยอยยกเลิกมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศเพื่อกระตุ้นให้มีการเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้น
ธุรกิจสายการบินของไทยในปี 2565 มีสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น สอดคล้องกับทิศทางของสายการบินทั่วโลก เป็นผลจาก
จากสัญญาณการฟื้นตัวในเชิงบวก คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้ปี 2566-2568 ธุรกิจขนส่งทางอากาศจะมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศและระหว่างประเทศจะเติบโตตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ส่งผลให้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมแผนรองรับการเติบโตที่เกิดขึ้น เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลาง (HUB) การบินในภูมิภาคและระดับโลกในอนาคต ส่วนบริการขนส่งสินค้าทยอยฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่การแข่งขันด้านราคามีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ในช่วง ปี 2565 ที่ยืดเยื้อจนถึงปัจจุบัน ทำให้สถานการณ์ราคาพลังงานและอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกปรับสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ต้นทุนการดำเนินการมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น เกิดปัจจัยท้าทายของธุรกิจ ได้แก่ ราคาเชื้อเพลิงทรงตัวสูง เพิ่มภาระต้นทุนแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ให้บริการต่างชาติรายใหญ่
ทั้งนี้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) หรือ กพท. ได้จัดทำแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินปี 2565-2568 ภายใต้กรอบแนวคิดที่มุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมการบินสามารถ “อยู่รอด เข้มแข็ง และยั่งยืน” โดยช่วงปี 2566-2567 เป็นการดำเนินการในระยะกลาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ/เพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมการบินภายใต้ยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ไม่เพียงแต่การขยายตัวของเที่ยวบินจากต่างประเทศเข้าไทยเท่านั้น มีการขออนุญาตจัดตั้งสายการบินใหม่สัญชาติไทยเพิ่มขึ้น ปัจจุบันสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายการเดินอากาศ (Air Operating License) หรือ AOL ให้แก่สายการบินใหม่ของไทยแล้ว 9 สายการบิน ที่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาการออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate) หรือ AOC เพื่อให้สามารถปฏิบัติการบินได้ โดยให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยว ทำให้กระทรวงคมนาคมเพิ่มศักยภาพของสนามบินหลายแห่งและการขนส่งทางอากาศเพื่อรองรับการเดินทางเข้าไทยที่มีเพิ่มขึ้น ซึ่งกระทรวงคมนาคม มีแผนจะดำเนินการใน 3 ระยะในการเปิดประตูการค้า การท่องเที่ยว สร้างการเป็น HUB เพื่อการเชื่อมโยงการเดินทางทุกมิติ ได้แก่
ในอนาคตธุรกิจการบินต้องให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและต้นทุนด้านพลังงาน ซึ่งมากกว่าร้อยละ 70 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากการบินเชิงพาณิชย์ทั่วโลก ในอนาคตอาจต้องมีการปรับปรุงพาหนะให้ทันสมัยและเพิ่มการใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน ปัจจุบันสายการบินต่าง ๆ กำลังพัฒนาเครื่องบินสำหรับเที่ยวบินระยะสั้นให้เป็นระบบไฮบริด-ไฟฟ้า (hybrid-electric) แบตเตอรี่ไฟฟ้า (battery-electric) และระบบไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (hydrogen-fuel-cell-electric) โดยมอบหมายให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยศึกษาและกำหนดมาตรการเรื่องการใช้น้ำมันอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ SAF เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO กำหนด โดยทั้งหมดล้วนเป็นทิศทางเพื่อรองรับการฟื้นตัวใหม่ของธุรกิจการบินที่จะเกิดขึ้น เพื่อก้าวไปสู่การเป็นฮับการบินในภูมิภาคระดับโลกในอนาคต
Copyright © 2022 National Assembly Library of Thailand
The Secretariat of the House of Representatives
1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
Tel: +66(0) 2242 5900 ex 5714, 5715, 5721-22 Fax: +66(0) 2242 5990
Email: library@parliament.go.th