Meeting and Seminar

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ห้องสมุดกับการสร้างสรรค์ Digital content”

English
Start date
End date
Event type
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ห้องสมุดกับการสร้างสรรค์ Digital content” 

วิทยากร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวนาถ  นันทพิชัย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 13.00-15.30 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการบรรยายต่อหอสมุดรัฐสภา

  • ทำให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวจากการเป็นผู้ให้บริการไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์เนื้อหา หรือ Digital Content เน้นการส่งเนื้อหาให้ถึงมือผู้รับแบบเชิงรุก
  • ได้แนวทางการเสริมสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของบรรณารักษ์ที่จะสร้างงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เช่น การจัดทำ Podcast ร่วมกับกลุ่มงานต่าง ๆ ในสำนักวิชาการในการนำเสนอ Content ต่าง ๆ
  • ทำให้เกิดแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการสร้าง Content ของห้องสมุดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและทำการตลาดผ่าน Platform ต่าง ๆ ให้หลากหลายยิ่งขึ้น
  • เกิดแนวคิดที่จะนำ Content ชุดเดียวกันมาปรับให้อยู่ในหลายรูปแบบ เช่น นำอินโฟกราฟิกที่มีอยู่แล้วมาจัดหมวดหมู่และเลือกบางส่วนที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกันมาทำ Tiktok
  • หอสมุดรัฐสภาควรมีการแบ่งการทำงานเป็นทีม ตามความถนัดควรมีการช่วยเหลือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด เช่น บางท่านอาจถนัดในการสร้าง Content บางท่านอาจถนัดทาง Graphic หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ควรมาร่วมมือกัน
Year
2022

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 1 การเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “บทบาทห้องสมุดสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล”

English
Start date
End date
Event type
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 1 การเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “บทบาทห้องสมุดสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล”

วิทยากร : นางสาวอัมพร อู่รัชตมาศ นางสาวเปี่ยมสุข ทุ่งกาวี และนางอังคณา อินทรพาณิชย์ 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการเสวนาต่อหอสมุดรัฐสภา

  • ทำให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวไปสู่ Smart Library และเป็นการกระตุ้นหรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรของหอสมุดรัฐสภา พัฒนาตนเองไปสู่การเป็น Smart Librarian เพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์บริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในยุคปัจจุบันมากขึ้น
  • ได้แนวทางการเสริมสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของบรรณารักษ์ที่ไม่ใช่เพียงการทำงานหลังบ้านเท่านั้นแต่บรรณารักษ์ต้องทำงานเชิงรุก โดยการนำตัวเองไปแทรกอยู่ในกิจการหรือกิจกรรมของหน่วยงานอื่น ๆ ในสำนักงานเพื่อช่วยในด้านข้อมูล เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ๆ ให้กับห้องสมุด
  • ได้แนวทางในการจัดเตรียมบริการต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ และบริการ ณ ที่ตั้งซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นไปได้ในยุคปัจจุบัน
  • กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกของการทำงานเป็นทีมในองค์กรเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ
  • การจัดกิจกรรมโดยเปิดโอกาสให้บุคคลผู้สนใจภายนอกเข้ามาร่วมรับฟังนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์หอสมุดรัฐสภาต่อชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงห้องสมุด ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายสำคัญในการทำงานร่วมกันในอนาคต อันเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ในการบริการสังคมของหอสมุดรัฐสภา 
  • หลังจากผ่านกิจกรรมทั้ง ๕ ครั้ง ในการสร้างความเข้าใจ และการเข้าถึงผู้ใช้บริการแล้วแต่ละกลุ่มงานควรนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเป็นการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานแบบยั่งยืนต่อไป
  • หอสมุดรัฐสภาควรมีการแบ่งการทำงานเป็นทีม ตามความถนัดควรมีการช่วยเหลือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด เช่น บางท่านอาจถนัดในการสร้าง Content บางท่านอาจถนัดทาง Graphic หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ควรมาร่วมมือกัน 
  • อาจมีการฝึกทีมบรรณารักษ์เพื่อช่วยเหลือด้านการทำวิจัย โดยร่วมมือกับกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา โดยบรรณารักษ์อาจช่วยเหลือให้คำแนะนำในเรื่องการสืบค้นข้อมูล จริยธรรมการใช้สารสนเทศ และการอ้างอิง เป็นต้น
Year
2022

โครงการขับเคลื่อนนวัตกรรมฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กิจกรรมที่ 3 การถอดบทเรียน จัดแสดงนิทรรศการ และมอบรางวัลนวัตกรรมดีเด่น

English
Start date
End date
Event type
ห้องประชุมสัมมนา B1-2 ชั้น B1 โซนกลาง (ฝั่งถนนสามเสน) อาคารรัฐสภา และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom meeting)

โครงการขับเคลื่อนนวัตกรรมฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กิจกรรมที่ 3 การถอดบทเรียน จัดแสดงนิทรรศการ และมอบรางวัลนวัตกรรมดีเด่น

กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

จัดโดย : คณะกรรมการขับเคลื่อนนวัตกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ สำนักพัฒนาบุคลากร

วันและเวลา : วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564   เวลา 8.00-15.30 นาฬิกา


การจัดโครงการขับเคลื่อนนวัตกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กิจกรรมที่ 3 การถอดบทเรียน จัดแสดงนิทรรศการ และมอบรางวัลนวัตกรรมดีเด่น ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ดำเนินการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มิติด้านการพัฒนาองค์กรตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการมีนวัตกรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสนับสนุนการนำผลงานนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
2) ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล คณะบุคคล และหน่วยงานที่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมดีเด่นของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน
3) ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านนวัตกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม


กำหนดการ

08.00-08.45 ลงทะเบียน ผ่านระบบออนไลน์ (โปรแกรม Zoom)
08.45-09.00

พิธีเปิดโครงการ (ผ่านระบบออนไลน์)

ประธานพิธีเปิด โดย นางอรวรรณ พันธุ์เปรื่อง รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานกรรมการขับเคลื่อนนวัตกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

กล่าวรายงาน โดย นางจงเดือน สุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ ในฐานะรองประธานกรรมการขับเคลื่อนนวัตกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

09.00-12.00

เสวนา หัวข้อ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสู่การเป็น SMART Parliament

- วิทยากรผู้ดำเนินการเสวนา โดย นายธีรศักดิ์ วงศ์ปิยะ กรรมการผู้จัดการ และที่ปรึกษานวัตกรรมอาวุโส บริษัท Bold Group จำกัด   

- ผู้ร่วมเสวนา จำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน

12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00

สรุปภาพรวม การพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสู่การเป็น SMART Parliament

- วิทยากรผู้ดำเนินการเสวนา โดย นายธีรศักดิ์ วงศ์ปิยะ กรรมการผู้จัดการ และที่ปรึกษานวัตกรรมอาวุโส บริษัท Bold Group จำกัด

14.00-15.30 

มอบรางวัลนวัตกรรมดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ประธานในพิธี โดย นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


ผลการประเมินข้อเสนอนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

1. นวัตกรรมเชิงนโยบาย 

ระดับดีมาก 

  • เรื่อง 2THMD safety ตามวิถี New Normal เสนอโดย กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ สำนักบริการทางการแพทย์ประจำรัฐสภา

2. นวัตกรรมการบริการ

ระดับดีเด่น 4 เรื่อง 

  • เรื่อง ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา (E - Verbal Interpellation) เสนอโดย กลุ่มงานกระทู้ถาม สำนักการประชุม
  • เรื่อง ระบบติดตามคณะเยี่ยมชมรัฐสภาด้วย Line Notify ผ่าน Smart Device เสนอโดย สำนักประชาสัมพันธ์
  • เรื่อง การบริการข้อมูลสารสนเทศด้านการเงินการคลังและการงบประมาณด้วย Infographic ผ่าน Facebook Fanpage ของสำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO) เสนอโดย สำนักงบประมาณของรัฐสภา
  • เรื่อง แอปพลิเคชันทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เสนอโดย สำนักสารสนเทศ

ระดับดีมาก 6 เรื่อง

  • เรื่อง เว็บไซต์รัฐสภาระหว่างประเทศ ภาคภาษาต่างประเทศ เสนอโดย สำนักภาษาต่างประเทศ
  • เรื่อง การสอนภาษาอังกฤษในรูปแบบ New Normal เสนอโดย สำนักภาษาต่างประเทศ
  • เรื่อง TPTV News Video Call Reporting เสนอโดย สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
  • เรื่อง โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านทักษะการผลิตสื่อดิจิทัล เสนอโดย กลุ่มงานบรรณาธิการและเทคโนโลยีจัดการพิมพ์ สำนักการพิมพ์
  • เรื่อง แอปพลิเคชันสนับสนุนภารกิจการเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศ (Wonderfiles – มหาสาร) เสนอโดย สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
  • เรื่อง ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผ่านระบบสารสนเทศ (E-Document) เสนอโดย คณะทำงานจัดการความรู้ สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

3. นวัตกรรมการบริหารหรือองค์การ 

ระดับดีเด่น 1 เรื่อง 

  • เรื่อง การเข้าชื่อเสนอกฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-initiative) เสนอโดย กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม

ระดับดีมาก 4 เรื่อง

  • เรื่อง การสร้างบุคลากรให้เป็น Administrative Expert ด้วยระบบจดหมายเวียนฟังก์ชั่น Mail Merge และการออกแบบระบบฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายโครงการ/กิจกรรมของสำนักประชาสัมพันธ์ เสนอโดย สำนักประชาสัมพันธ์
  • เรื่อง การพัฒนากระบวนการจัดทำรายงานการกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใดที่มีความเกี่ยวข้องกันของคณะกรรมาธิการหลายคณะ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 90 วรรคสี่ เสนอโดย สำนักกรรมาธิการ 3
  • เรื่อง การประยุกต์ใช้ Social Media Platform: Tik Tok ในการประชาสัมพันธ์งานของสำนักนโยบายและแผน เสนอโดย สำนักนโยบายและแผน
  • เรื่อง แฟ้มสะสมภูมิปัญญาดิจิทัล เรื่อง บทบาทฝ่ายเลขานุการในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ เสนอโดย สำนักกรรมาธิการ 1

Link ที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นวัตกรรม สผ. : https://web.parliament.go.th/view/55/innovation_secretariat/TH-TH

 

Year
2564

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง CPTPP : โอกาสและความท้าทายของประเทศไทย

English
Start date
End date
Event type
ห้องกรุงธนบอลล์รูม ชั้น 3 โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างเครือข่ายด้านวิชาการและส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อสถาบันนิติบัญญัติ เรื่อง "CPTPP : โอกาสและความท้าทายของประเทศไทย"

กลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขา วิทยากร นักวิจัย ผู้บริหารและข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร บุคคลในวงงานรัฐสภา สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

จัดโดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

วันและเวลา : วันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2563   เวลา 08.30-16.00 นาฬิกา


การสัมมนาดังกล่าว สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการร่วมกัน และส่งเสริมให้เกิดการนำข้อมูลวิชาการ กรณี CPTPP ไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ของสมาชิกรัฐสภา กรรมาธิการ และบุคคลในวงงานรัฐสภา รวมทั้งให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านวิชาการ กรณี CPTPP ในประเด็นปัญหาสาธารณะสำคัญของประเทศ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยกับนักวิจัย สกสว. สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งหน่วยงานวิจัย ของประเทศ


กำหนดการ

08.30-9.30

ลงทะเบียน

รับชมการนำเสนอผลงานวิจัยผ่าน Research Cafe โดย สกสว.

การแนะนำคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (LIRT) โดย สำนักวิชาการ

 
09.30-10.00

พิธีเปิดการเสวนา

กล่าวต้อนรับ โดย ศ.ดร. ไพศาล กิตติศุภกร ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาระบบการจัดการผลผลิตและผลกระทบ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

กล่าวรายงาน โดย นายมาณิช อินทฉิม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

กล่าวเปิดการเสวนา โดย นายคุณวุฒิ ตันตระะกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

 
10.00-11.45

บรรยายและเสวนาเรื่อง "CPTPP : โอกาสและความท้าทายของประเทศไทย"

1. สถานะและความคืบหน้าของการเจรจา

นายรัชวิชญ์ ปิยะปราโมทย์ อัครราชทูต (ฝ่ายพาณิชย์) คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

 

2. โอกาสและความท้าทายในภาคเกษตร

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี

  3. โอกาสและความท้าทายต่อภาคอุตสาหกรรมไทย

รศ.ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

11.45-12.00 ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเพิ่มเติม  
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน  
13.00-14.45 บรรยายและเสวนาเรื่อง "CPTPP กับความท้าทายด้านพันธกรณีทางกฎหมายระหว่างประเทศ"

รศ.ดร. จักรกฤษณ์ ควรพจน์ ผู้อำนวยการวิจัยฝ่ายกฎหมายเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

ผศ.ดร. นพร โพธิ์พัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.45-15.30 ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเพิ่มเติม  

15.30-16.00

สรุปและปิดการเสวนา  

ดำเนินการเสวนา : ดร. ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก

Year
2020

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Green Office & Green Library ของสำนักวิชาการ

English
Start date
End date
Event type
โรงแรมกานต์มณี พาเลซ ถนนประดิพัทธ์ กรุงเทพมหานคร

โครงการ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Green Office & Green Library ของสำนักวิชาการ

กิจกรรมที่ 1 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรกลุ่มงานห้องสมุด และกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

จัดโดย : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

วันและเวลา : วันจันทร์ที่ 24 และวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563   เวลา 8.30-16.30 นาฬิกา


กำหนดการ

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563

9.00-10.30 การบรรยาย เรื่อง การพัฒนาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต สู่การเป็นองค์กรสีเขียวที่ยั่งยืน

ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

10.30-12.00 การอภิปราย เรื่อง มาตรฐานและเกณฑ์ที่ใช้ในการพัฒนาห้องสมุดและสำนักงานสีเขียว

คุณพัชรา หาญเจริญกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนา

คุณนฤมล พฤกษศิลป์ รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคและบริการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

13.00-16.30 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง วิธีปฏิบัติเพื่อการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรสีเขียว

ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด

คุณนฤมล พฤกษศิลป์ รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคและบริการ

คุณลมัย ประคอนสี หัวหน้าแผนกเทคนิค 

คุณรัตนาภรณ์ กาศโอสถ  หัวหน้าแผนกพัฒนา

คุณพัชรา หาญเจริญกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนา

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563

9.00-12.00 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Green Office จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ

ดร.พรพิมล วราทร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

คุณศุภลักษณ์ ศรีลาวงษ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ

คุณงามนิจ อนุศาสนี นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ 

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

13.00-14.30 การบรรยาย เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวคือใคร อะไร และทำอย่างไร

คุณกำไล ลิ่มสอน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

14.30-16.00

การบรรยาย เรื่อง การจัดการห้องสมุดสีเขียวเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

วีดิทัศน์ สำนักหอสมุด กรมวิทยาศาสตร์บริการ

คุณทวีศักดิ์ แก้วบุรี บรรณารักษ์สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

** แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดโครงการ (กิจกรรมที่ 1 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ)

 

Files
Attachment Size
เอกสารโครงการ 83.78 KB
กำหนดการ 64.38 KB
เอกสารบรรยาย เรื่อง การพัฒนาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต สู่การเป็นองค์กรสีเขียวที่ยั่งยืน 3.82 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง มาตรฐานและเกณฑ์ที่ใช้ในการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว 920.42 KB
เอกสารบรรยาย เรื่อง สำนักงานสีเขียว (Green Office) 5.87 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงาน และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 2.19 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง การใช้ทรัพยากรและพลังงาน และการจัดการสภาพแวดล้อม 4.29 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง การจัดการก๊าซเรือนกระจก สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต 430.86 KB
เอกสารบรรยาย เรื่อง การประชาสัมพันธ์และการอบรมให้ความรู้ 4.1 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง การจัดการของเสีย 3.57 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน 6.5 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง โครงการสำนักงานสีเขียว Green Office 16.32 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง โครงการเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว 3.41 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง ห้องสมุดสีเขียว กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 5.27 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง สรุปผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2561 14.23 MB
เอกสารบรรยาย เรื่อง นโยบายห้องสมุดสีเขียว สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 191.88 KB
เอกสารบรรยาย เรื่อง 8 ทศวรรษ สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6.01 MB
ประวัติวิทยากร ดร. มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ 109.18 KB
ประวัติวิทยากร นางพัชรา หาญเจริญกิจ 31.71 KB
ประวัติวิทยากร นางนฤมล พฤกษศิลป์ 51.25 KB
ประวัติวิทยากร นางสาวลมัย ประคอนสี 47.63 KB
ประวัติวิทยากร นางสาวรัตนาภรณ์ กาศโอสถ 54.5 KB
ประวัติวิทยากร ดร. พรพิมล วราทร 57.39 KB
ประวัติวิทยากร นางสาวศุภลักษณ์ ศรีลาวงษ์ 1.05 MB
ประวัติวิทยากร นางสาวงามนิจ อนุศาสนี 102.8 KB
ประวัติวิทยากร นางสาวกำไล ลิ่มสอน 78.92 KB
ประวัติวิทยากร นายทวีศักดิ์ แก้วบุรี 52.78 KB
Year
2563

โครงการสัมมนา เรื่อง การจัดการความรู้ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปี 2561

English
Start date
End date
Event type
ห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1

การจัดโครงการสัมมนา เรื่อง การจัดการความรู้ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปี 2561 วันอังคารที่ 18 กันยายน 2561 ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 เวลา 8.30-16.00 นาฬิกา โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยการแบ่งปันผ่านรูปแบบการบรรยาย การเสวนา การอภิปราย การตอบข้อซักถาม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

  1. การสร้างนวัตกรรมในการทำงาน
  2. องค์ความรู้การศึกษาดูงาน ด้านการจัดการความรู้ของหน่วยงานภายนอก
  3. องค์ความรู้ยุทธศาสตร์ที่ 1 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  4. องค์ความรู้ยุทธศาสตร์ที่ 2 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  5. องค์ความรู้ยุทธศาสตร์ที่ 3 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  6. องค์ความรู้ยุทธศาสตร์ที่ 4 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  7. การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ
  8. พิธีประกาศรางวัลและมอบรางวัลการจัดการความรู้ดีเด่น

The 32th IFLA Pre-Conference and the 82th IFLA General Conference and Assembly (IFLA 2016)

English
Start date
End date
Event type
หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน กรุงวอชิงตัน ดี.ซี และเมืองโคลัมบัส มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา

นางศิริพร โหตรภวานนท์ (ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ), นางสาวสุนิดา บุญญานนท์ (บรรณารักษ์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานห้องสมุด), นางสาววิจิตรา ประยูรวงษ์ (บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานห้องสมุด), และนางสาวนริศรา เพชรพนาภรณ์ (บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ) สำนักวิชาการ เข้าร่วมการประชุม Pre-Conference ครั้งที่ 32 Section on Library and Research Services for Parliaments หัวข้อ "การให้บริการห้องสมุดรัฐสภาและการวิจัยในโลกแห่งการเชื่อมโยง" (Delivering parliamentary library and research services in an interconnected world) และการประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 82 หัวข้อ "การเชื่อมโยง ความร่วมมือ ชุมชน" (Connections, Collaboration, Community) ของการประชุมบรรณารักษ์นานาชาติแห่งสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด (IFLA) ณ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน กรุงวอชิงตัน ดี.ซี และเมืองโคลัมบัส มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 10-19 สิงหาคม พ.ศ.2559

The 32nd IFLA Pre-Conference of Library and Research Services for Parliaments
10-12 August 2016. Library of Congress, Washington D.C, United States of America.

The World Library and Information Congress: 82nd IFLA General Conference and Assembly
13-19 August 2016. Columbus, Ohio, United States of America.

Year
2559

The 9th International Seminar for Parliamentary Research Services (ISPRS 2018)

English
Start date
End date
Event type
กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

นางสาวปรียวรรณ สุวรรณสูนย์ (วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา) และนางสาววิลาสิณี ฉายรัตน์ตระกูล (วิทยากรชำนาญการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา) สำนักวิชาการ เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศสำหรับหน่วยบริการวิจัยแห่งรัฐสภา ครั้งที่ 9 เรื่อง "บทบาทของสถาบันนิติบัญญัติในการตอบสนองต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางสังคมและความเป็นอยู่ของประชาชน" ซึ่งจัดโดยสำนักงานบริการวิจัยแห่งรัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลี (National Assembly Research Service (NARS)) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2561

The 9th International Seminar for Parliamentary Research Services
"The Legislature’s Response to Science and Technology Developments Causing a Paradigm Shift in Society and People’s Lives"
7-9 November 2018. Seoul, Republic of Korea.

Year
2018

The 11th Conference of the Association of Parliamentary Librarians of Asia and the Pacific (APLAP 2017)

English
Start date
End date
Event type
รัฐสภาเกาหลี ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

นางจินตนา เอี่ยมคง (บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานห้องสมุด) และนางสาวปรียานุช คลอวุฒิวัฒน์ (บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานห้องสมุด) สำนักวิชาการ เข้าร่วมการประชุมสมาคมบรรณารักษ์รัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก (Association of Parliamentary Librarians of Asia and the Pacific - APLAP) ครั้งที่ 11 ประจำปี 2560 ภายใต้หัวข้อ "การก้าวเข้าสู่ยุคของ Big Data: บทบาทของห้องสมุดรัฐสภาและบริการวิจัย" (Moving Towards a Big Data Era: the Role of Parliamentary Libraries and Research Services) ณ รัฐสภาเกาหลี ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน พ.ศ.2560

The 11th Conference of the Association of Parliamentary Librarians of Asia and the Pacific. "Moving Towards a Big Data Era: the Role of Parliamentary Libraries and Research Services"
26 - 28 April 2017. Seoul, Republic of Korea.

Year
2560

The 33rd IFLA Pre-Conference and the 83rd IFLA General Conference and Assembly, 19-25 August 2017 in Wroclaw, Republic of Poland

English
Start date
End date
Event type
เมืองวรอตซวาฟ สาธารณรัฐโปแลนด์

นางอรวรรณ พันธุ์เปรื่อง ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ นางสาวสุนิดา บุญญานนท์ (บรรณารักษเชี่ยวชาญ กลุ่มงานห้องสมุด) นางสาวนารีลักษณ์ ศิริวรรณ (วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา) และนางสาวบุษราภรณ์ อัครนิธิยานนท์ (บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ) สำนักวิชาการ เข้าร่วมการประชุม Pre-Conference ครั้งที่ 33 Section on Library and Research Services for Parliaments หัวข้อ "สารสนเทศในฐานะเป็นรากฐานของความเป็นปึกแผ่นของสังคม : บทบาทของการ ให้บริการห้องสมุดและวิจัยของรัฐสภา" (Information as the Foundation for Social Solidarity : The Role of Parliamentary Libraries and Research Services) และการประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 83 หัวข้อ "ห้องสมุด. ความเป็นปึกแผ่น. สังคม." (Libraries. Solidarity. Society.) ของการประชุมบรรณารักษ์นานาชาติแห่งสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด (IFLA) ณ รัฐสภาสาธารณรัฐโปแลนด์ กรุงวอร์ซอ และเมืองวรอตซวาฟ สาธารณรัฐโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 15-25 สิงหาคม พ.ศ.2560

  • The 33rd IFLA Pre-Conference of Library and Research Services for Parliaments, 15-18 August 2017. Warsaw, Republic of Poland.
  • World Library and Information Congress: 83rd IFLA General Conference and Assembly, 19-25 August 2017. Wroclaw, Republic of Poland.
Year
2560
Subscribe to Meeting and Seminar