การบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

The enforcement of the emergency decree on public administration in emergency situations B.E. 2548 with the protection of citizen's rights and liberty
Author
วสันต์ ชมภูศรี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
No. of Pages
381
Year
2559
Research Types
Research by Students

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ. ดร. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์


วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวความคิดของการบังคับใช้พระราชกาหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และวิเคราะห์ปัญหาจากการใช้อานาจของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการใช้อานาจของเจ้าหน้าที่รัฐในสถานการณ์ฉุกเฉินของต่างประเทศ รวมทั้ง ศึกษามาตรการในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

จากผลการศึกษาพบว่า การบังคับใช้พระราชกาหนดฉบับดังกล่าวถือเป็นกฎหมายพิเศษที่เพิ่มอานาจให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง และจัดการกับสถานการณ์ที่มี ความรุนแรงอันอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาทั้งในส่วนเนื้อหาสาระและการบังคับใช้ของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากกระบวนการก่อนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ปัญหาการควบคุมระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ปัญหาการจากัดการตรวจสอบความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ และปัญหาการจากัดองค์กรในการตรวจสอบการใช้อานาจรัฐ รวมทั้ง ปัญหาที่เกิดจากการใช้อานาจของเจ้าหน้าที่รัฐจากการใช้อานาจที่เกินขอบเขตหรือเกินความจาเป็น ซึ่งจาเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายและแนวทางในการควบคุมการใช้อานาจรัฐ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระราชกาหนดฉบับดังกล่าวที่ให้อานาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพิ่มขึ้นในการจากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หลายประการ แต่การใช้อานาจรัฐจะต้องคานึงถึงหลักแห่งความได้สัดส่วนด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุระหว่างการจากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับการรักษาความมั่นคงของประเทศให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย