รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ประชาคมอาเซียนกับการปรับปรุงกฎหมายเศรษฐกิจและการค้าของไทย

ASEAN Community and the Reformation of the Thai Trade and Economic Law
ผู้แต่ง :
ปวริศร เลิศธรรมเทวี
จำนวนหน้า :
235
ปีที่เผยแพร่ :
2561
ประเภท :
งานวิจัยโดยสถาบันและนักวิชาการอิสระ
ผู้ให้ทุน/ผู้สนับสนุน :
ได้รับทุนในการวิจัยจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

รายงานวิจัยฉบับนี้ศึกษาวิเคราะห์การปรับปรุงกฎหมายเศรษฐกิจและการค้าของไทยตามกรอบกติกาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีขอบเขตและวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ประการ กล่าวคือ (1) ศึกษาพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้เสาเศรษฐกิจอาเซียน (2) ความสอดคล้องของระบบกฎหมายไทยกับกรอบพันธกรณีดังกล่าว (3) ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนสาหรับประเทศไทย และ (4) แสวงหาแนวทางในการพัฒนากฎหมายของไทยให้ดียิ่งขึ้นและเป็นไปตามกรอบกติกาของอาเซียน การวิจัยในครั้งนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นการวิเคราะห์เอกสารกฎหมายของอาเซียน และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และการทบทวนองค์ความรู้จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการศึกษาวิจัยได้พบข้อสรุปผลการวิจัยซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัย 4 ประเด็นที่สาคัญ กล่าวคือ

ประเด็นแรก ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องดาเนินการใน 5 ประเด็นที่สาคัญ ได้แก่ (1) การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เป็นภูมิภาคที่ระบบเศรษฐกิจมีการรวมตัวและเชื่อมโยงกันในระดับสูง โดยเกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน เป็นต้น (2) การทบทวนนโยบายและกฎหมายเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน อาทิ นโยบายด้านการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (3) การพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานของรัฐซึ่งเป็นองค์ประกอบสาคัญของความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาระบบการขนส่ง (4) การกาหนดนโยบายที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนและให้ความสาคัญกับภาคประชาชน และ (5) การ
กาหนดท่าทีของประเทศเพื่อให้กลายเป็นส่วนสาคัญของระบบเศรษฐกิจโลก

ประเด็นที่สอง ระบบกฎหมายภายในของไทยในปัจจุบันมีความสอดคล้องรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่แล้ว ทั้งในด้านการค้าสินค้าซึ่งเกี่ยวกับระบบกฎหมายศุลกากรของไทย ด้านการค้าบริการซึ่งเกี่ยวกับกฎหมายด้านวิชาชีพในทุกสาขาวิชาชีพที่เปิดเสรี ด้านการลงทุน อาทิ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธเอกชน พ.ศ. 2550

ประเด็นที่สาม รายงานวิจัยฉบับนี้ได้วิเคราะห์ประโยชน์และผลกระทบจากการเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสาหรับประเทศไทย และพบว่าการเข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีนัยสาคัญที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจในลักษณะต่าง ๆ อาทิ ส่งเสริมการลงทุน การแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี และการพัฒนาประเทศจากระบบเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น

ประเด็นสุดท้าย รายงานวิจัยฉบับนี้พบว่าระบบกฎหมายไทยมีความสอดคล้องรองรับในการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอยู่แล้ว แม้ประเทศไทยได้ตั้งข้อจากัดไม่ผูกพันให้ต้องดาเนินการในหลาย ๆ ประเด็น อาทิ การสงวนงานบริการให้คนชาติไว้สาหรับคนไทย แต่ไม่ขัดกับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของไทย และกล่าวได้ว่า หากประเทศไทยเปลี่ยนท่าทีและมีการขยายความร่วมมือไปในประเด็นต่าง ๆ ที่ทาให้มีการเปิดเสรีมากขึ้น อาจส่งผลให้ระบบกฎหมายหลาย ๆ ฉบับไม่สอดคล้องกับกรอบกติกาของอาเซียน

ฉะนั้น รายงานวิจัยฉบับนี้จึงได้สรุปข้อเสนอแนะแนวทางสาหรับการพัฒนาระบบกฎหมายไทยในหลายประเด็น อาทิ กฎหมายเกี่ยวกับการอานวยความสะดวกทางการค้า การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการแข่งขันทางการค้า โดยได้จัดทาเป็นรายชื่อกฎหมายสาคัญที่สมควรพิจารณาดาเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของอาเซียน หากประเทศไทยมีการขยายความร่วมมือตามผังดาเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ค.ศ. 2025 ในอนาคตต่อไป