รายงานการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานด้านคุณธรรมจริยธรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: กรณีศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาการประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการให้สอดรับกับค่านิยมองค์กรและพันธะสัญญาด้านการต่อต้านการทุจริต

ผู้แต่ง :
สิฐสร กระแสร์สุนทร, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
จำนวนหน้า :
120
ปีที่เผยแพร่ :
2562
ประเภท :
งานวิจัยโดยสำนักวิชาการ

 

การวิจัย เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานด้านคุณธรรมจริยธรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: กรณีศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาการประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการให้สอดรับกับค่านิยมองค์กรและพันธะสัญญาด้านการต่อต้านการทุจริต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การประพฤติปฏิบัติตนที่สอดรับกับค่านิยมองค์กรและพันธะสัญญาด้านการต่อต้านการทุจริตของข้าราชการ และศึกษาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการประพฤติปฏิบัติตนให้กับข้าราชการในด้านดังกล่าว โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับข้าราชการจากทุกหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 396 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เมื่อทราบข้อมูลเชิงปริมาณแล้วจึงทำการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตนที่สอดรับกับค่านิยมองค์กรและพันธะสัญญาด้านการต่อต้านการทุจริต โดยผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

  1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญทั้งประเภทวิชาการและประเภททั่วไป อายุเฉลี่ยประมาณ 41 ปี ประสบการณ์ในการทำงานประมาณ 12 ปี รายได้ประมาณ 39,000 บาท และส่วนใหญ่สาเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาตรี ตามลำดับ
  2. การประพฤติปฏิบัติตนที่สอดรับกับค่านิยมองค์กร พบว่า ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการประพฤติปฏิบัติตนสอดรับกับค่านิยมองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด คือ “เป็นประจำ” เมื่อพิจารณารายด้านจะเห็นได้ว่าด้านสมานสามัคคีมีระดับการประพฤติปฏิบัติ สูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านใจสัตย์ซื่อ ส่วนด้านที่มีระดับการประพฤติปฏิบัติไม่สูงมากเมื่อเทียบกับด้านอื่น คือ ด้านมีวินัยและด้านถือหลักพอเพียง
  3. การประพฤติปฏิบัติตนที่สอดรับกับพันธะสัญญาด้านการต่อต้านการทุจริต พบว่า ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีระดับการประพฤติปฏิบัติตนที่สอดรับกับพันธะสัญญาด้านการต่อต้านการทุจริตอยู่ในระดับมากที่สุด คือ “เป็นประจำ” เมื่อพิจารณารายด้านจะเห็นได้ว่าด้านรวมพลังมีระดับการประพฤติปฏิบัติสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านซื่อสัตย์ ส่วนด้านที่มีระดับการประพฤติปฏิบัติไม่สูงมากเมื่อเทียบกับด้านอื่น คือ ด้านยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
  4. แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการประพฤติปฏิบัติตนให้สอดรับกับค่านิยมองค์กรและพันธะสัญญาด้านการต่อต้านการทุจริต พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ทุกด้านกับแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนา ประกอบด้วย 1) การอบรมหรือสัมมนา 2) การศึกษา ดูงานหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จ 3) การให้รางวัลแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตนดีเด่น 4) การจัดทำป้ายรณรงค์หรือเชิญชวนให้ปฏิบัติตาม และ 5) การจัดประกวดแข่งขันการประพฤติปฏิบัติตนระหว่างหน่วยงานภายใน (เรียงตามลาดับจากมากไปหาน้อย) ในส่วนของผลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนานั้น ต้องเริ่มจากการหากลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับการพัฒนา ก่อน-หลัง ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มแรกที่ควรได้รับการพัฒนาก่อน คือ ผู้บังคับบัญชาระดับกลุ่มงาน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เมื่อได้รับการพัฒนาไปแล้ว สามารถนำไปถ่ายทอด และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ในทันที อีกทั้งยังมีความใกล้ชิดกับข้าราชการ ระดับปฏิบัติที่ถือว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสานักงานฯ ส่วนกลุ่มเป้าหมายลำดับที่สอง คือ กลุ่มข้าราชการประเภททั่วไป ระดับอาวุโสและระดับชานาญงาน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้คะแนน การประพฤติปฏิบัติตนให้สอดรับกับค่านิยมองค์กรและพันธะสัญญาด้านการต่อต้านการทุจริต ในระดับคะแนนที่เป็นรองจากข้าราชการกลุ่มอื่น

จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรควรให้การส่งเสริมและพัฒนาให้ข้าราชการมีระดับการประพฤติปฏิบัติตนในด้านยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ด้านมีวินัย และด้านถือหลักพอเพียงก่อนด้านอื่น เพราะเมื่อเทียบกับผลการศึกษาด้านอื่นแล้ว ยังถือว่ามีระดับคะแนนที่เป็นรองกว่า จึงควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเป็นลำดับแรก โดยเสนอวิธีการพัฒนาบุคลากรด้านยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ด้วยการพัฒนาจิตลักษณะ 2 ด้าน คือ 1) ด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม สามารถพัฒนาด้วยการให้บุคลากรทำกิจกรรมกลุ่มและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาที่เป็นกรณีข้อขัดแย้งทางจริยธรรม 2) ด้านการมุ่งอนาคตควบคุมตนสามารถพัฒนาด้วยวิธีการฝึกเขียนเรื่องราวคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตของตนร่วมกับการฝึกวินัย ส่วนวิธีการพัฒนาบุคลากรด้านวินัย สามารถพัฒนาได้หลายวิธี อาทิ การบรรยาย การสัมมนา การอภิปราย โดยแต่ละวิธีมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ให้บุคลากรได้ตระหนักถึงความสำคัญของวินัยและทราบถึงผลที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของข้าราชการที่กาหนดไว้ ส่วนวิธีการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ด้านถือหลักพอเพียง สามารถใช้วิธีการพัฒนาที่หลากหลายเช่นเดียวกับด้านวินัย โดยอาจเสริมด้วยการศึกษาดูงานโครงการพระราชดาริเพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมาย เพี่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปปรับใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันของตนเองได้ ซึ่งการส่งเสริมและพัฒนาดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากผู้บริหารในทุกระดับด้วยการให้ความจริงจังในการกำกับดูแล การสร้างขวัญและกาลังใจ การเป็นแบบอย่างที่ดี รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา อย่างต่อเนื่องและทั่วถึงในทุกมิติ