ในอดีต “การกราดยิง (Mass Shooting)” อาจเป็นเรื่องที่สังคมไทยไม่คุ้นเคยนัก เนื่องจากเหตุกราดยิงมักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา จากการจัดทำสถิติของ Gun Violence Archive ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ได้ติดตามสถานการณ์ความรุนแรงเกี่ยวข้องกับการใช้ปืนในสหรัฐอเมริกาพบว่าสถิติการกราดยิงในสหรัฐอเมริกามีสูงมาก โดยในปี 2563 มีการกราดยิงจำนวน 610 ครั้ง ปี 2564 จำนวน 692 ครั้ง และในปี 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีการกราดยิงไปแล้วไม่น้อยกว่า 531 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแม้แต่ในสหรัฐอเมริกาเองก็ยังไม่มีการกำหนดคำจำกัดความของ “การกราดยิง หรือ Mass shooting” อย่างเป็นทางการ เนื่องจากหลายฝ่ายมีการกำหนดคำนิยามที่แตกต่างกันไป ทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตและลักษณะของเหตุการณ์ แต่ Gun Violence Archive ได้ให้ความหมายของคำว่า “การกราดยิง” ไว้ว่า หมายถึง การใช้อาวุธปืนก่อความรุนแรงจนทำให้มีคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน
สำหรับประเทศไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเกิดเหตุกราดยิงครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ได้เกิดเหตุการณ์ทหารกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 30 คนและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 58 คน ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์กราดยิงครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง เมื่ออดีตตำรวจที่ได้บุกเข้าไปในองค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ใช้อาวุธมีดและปืนทำร้ายเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ ทำให้เด็กที่กำลังนอนกลางวัน ครู และชาวบ้าน เสียชีวิต 37 คน และได้รับบาดเจ็บ จำนวน 10 คน
การกราดยิงเป็นการก่ออาชญากรรมที่มีการใช้ความรุนแรงอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ในทางจิตวิทยา หากพิจารณาถึงสาเหตุของพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความรุนแรงแล้ว การกระทำและการใช้คำพูดที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นกับคนทั่วไปได้เมื่ออยู่ในเวลาและสถานการณ์ที่มีตัวกระตุ้น เนื่องจากความก้าวร้าวเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่มนุษย์ต้องควบคุมความก้าวร้าวรุนแรงของตนเอง อย่างไรก็ตาม มีบุคคลบางประเภทซึ่งมักจะมีโอกาสแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและเป็นอันตรายต่อผู้อื่นได้ คือ บุคคลที่มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ไม่ควบคุมตนเอง ไม่เคารพกฎระเบียบของสังคม มองโลกในแง่ร้าย คิดว่าตนเองถูกกระทำอยู่เสมอจึงแสดงพฤติกรรมต่อต้าน คิดว่าปัญหาเกิดจากบุคคลอื่น ไม่คิดว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากตนเอง และชอบใช้ความรุนแรงโหดร้ายทารุณ
ในทางอาชญาวิทยา จากการศึกษาการกราดยิงในต่างประเทศ ผู้ก่อเหตุกราดยิงมักมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
ส่วนสาเหตุการก่ออาชญากรรมมักจะประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
ในสหรัฐอเมริกาสามารถเข้าถึงอาวุธปืนได้ง่ายจึงเกิดการกราดยิงขึ้นบ่อยครั้ง ในขณะที่ประเทศที่อาวุธปืนถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อาวุธที่ถูกนำมาใช้ในการก่อเหตุมักจะเป็นอาวุธชนิดอื่น เช่น ใช้มีดไล่แทงคนในรถไฟหรือใช้แก๊สพิษก่อเหตุในสถานีรถไฟใต้ดิน เป็นต้น ดังนั้น การป้องกันการก่อเหตุจึงต้องตัดมูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุ รวมถึงตัดโอกาสที่จะเข้าถึงอาวุธต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ก่อเหตุได้ โดยเฉพาะอาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่ร้ายแรง
นอกจากการป้องกันการก่อเหตุแล้ว การเรียนรู้ที่จะป้องกันตนเองและเอาชีวิตรอดจากการกราดยิงในพื้นที่สาธารณะก็เป็นสิ่งสำคัญ ประชาชนโดยทั่วไปจึงควรตระหนักถึงความสำคัญและเรียนรู้หลัก “หนี ซ่อน สู้ (Run Hide Fight)” ซึ่งเป็นหลักสากลของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Bureau of Investigation หรือ FBI) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้แนะนำประชาชนในการเอาชีวิตรอดจากเหตุกราดยิง ดังนี้
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 หอสมุดรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : +66(0) 2242 5900 ต่อ 5711, 5714, 5721-22 โทรสาร : +66(0) 2242 5990
อีเมล : library@parliament.go.th