อินโฟกราฟิก เรื่อง อาสาสมัครคุมประพฤติ

อินโฟกราฟิก เรื่อง อาสาสมัครคุมประพฤติ
ผู้แต่ง :
นราภัทร เพชรมณี
จำนวนหน้า :
1
ปีที่พิมพ์ :
2564

 

ความรู้ เรื่อง "อาสาสมัครคุมประพฤติ" จากบทความร้อยเรื่องเมืองไทย ผลงานของคุณศรันยา  สีมา นอกจากให้ความรู้แล้ว ใครสนใจและมีคุณสมบัติครบ เตรียมตัวไปสมัครงานนี้กันได้นะคะ

ปี 2529 กรมคุมประพฤติ ริเริ่มโครงการ “อาสาสมัครคุมประพฤติ” ขึ้น
"อาสาสมัครคุมประพฤติ" มีหน้าที่ 

  • ช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด 
  • แนะนำตักเตือนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด 
  • สอดส่องเยี่ยมเยียนผู้ถูกคุมความประพฤติ 
  • ติดตามผลผู้ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 (อ.ส.ค.)  

พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 กำหนดให้มีบทบาทในการช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานคุมประพฤติ 
6 ประการ คือ 

  1. แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด 
  2. ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ สงเคราะห์ ผู้กระทำความผิดหรือผู้ได้รับการสงเคราะห์ 
  3. แสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทำความผิด 
  4. ส่งเสริมสนับสนุนภารกิจของกรมคุมประพฤติ 
  5. มีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม 
  6. บทบาทหน้าที่อื่นตามที่อธิบดีกรมคุมประพฤติมอบหมาย

ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็น "อาสาสมัครคุมประพฤติ" ต้องมีคุณสมบัติ คือ 

  1. มีอายุตั้งแต่ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  2. สำเร็จการศึกษาระดับ ม.ต้น หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือมีความรู้หรือประสบการณ์ ไม่น้อยกว่า 2 ปีในด้านการแก้ไขฟื้นฟู การสงเคราะห์ การพัฒนาสังคมหรือชุมชน การพัฒนาพฤตินิสัย หรือด้านกระบวนการยุติธรรม หรือเป็นที่ยอมรับจากประชาชน ชุมชน หรือสังคม 
  3. ประกอบอาชีพโดยสุจริตหรือดำรงชีพโดยสุจริต 
  4. มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน 
  5. มีความประพฤติดี ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมและมีความเสียสละเป็นอย่างสูง พร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานคุมประพฤติด้วยความเต็มใจ 
  6. สุขภาพร่างกายหรือจิตใจไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
  7. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ คนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

"อาสาสมัครคุมประพฤติ" มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน และสิทธิประโยชน์อื่นตามที่กฎหมายกำหนด

 

ผู้สนใจเข้าร่วมเป็น "อาสาสมัครคุมประพฤติ" สามารถสมัครได้ที่เว็บไซต์ของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม (http://www.probation.go.th) หรือสายด่วน 1111 ต่อ 78 หรือที่สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ

อ่านเพิ่มเติม

อาสาสมัครคุมประพฤติ

หมวดหมู่อินโฟกราฟิก :