รายงานการศึกษา เรื่อง การกำหนดกฎมณเฑียรบาลในรัฐธรรมนูญไทย

ผู้แต่ง :
ฐากูร จุลินทร, วิทยากรชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ. กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
จำนวนหน้า :
300
ปีที่เผยแพร่ :
2557
ประเภท :
งานวิจัยโดยสำนักวิชาการ

 

กฎมณเฑียรบาลเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้มีการสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ว่า ตราขึ้นใน พ.ศ. ๒๐๑๑ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยเป็นกฎหมายที่บัญญัติเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของพระราชฐาน หรือรักษาความปลอดภัยสาหรับพระมหากษัตริย์ ในช่วงเวลาต่อมาได้มีการตรากฎมณเฑียรบาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์อีกหลายฉบับ อย่างไรก็ตามไม่มีบทบัญญัติตามกฎมณเฑียรบาลที่กาหนดการสืบราชสมบัติไว้อย่างแน่ชัด จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ จึงเป็นผลให้กระบวนการสืบราชสมบัติของไทยมีความชัดเจนมากขึ้น และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ กฎมณเฑียรบาลฉบับดังกล่าวได้ถูกยอมรับและบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับแรก ทั้งนี้ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึงปัจจุบัน กฎมณเฑียรบาลฯ ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จานวน ๑๓ ฉบับ แต่ทว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร รวมทั้งสิ้น ๖ ฉบับ ไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนในเรื่องนี้ สาหรับสาระสาคัญในการบัญญัติคือ ให้การสืบราชสมบัติดาเนินการตามหรือให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ทั้งนี้รัฐธรรมนูญของบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่นหรือเดนมาร์ก มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติไว้ในรัฐธรรมนูญในลักษณะคล้ายกับรัฐธรรมนูญไทย

กฎมณเฑียรบาลฯ อาจพิจารณาได้ว่าเป็นกฎหมายพิเศษจึงมีการกาหนดหลักการในลักษณะเดียวกันในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยกาหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลฯ เป็นพระราชอานาจของพระมหากษัตริย์ ดังนั้นคณะองคมนตรีจึงเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการจัดทาร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติม

ในส่วนบทบาทของรัฐสภาสาหรับการรับทราบหรือการให้ความเห็นชอบผู้ทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ได้มีการกาหนดหลักการในลักษณะเดียวกันในรัฐธรรมนูญทั้ง ๓ ฉบับข้างต้นโดยแบ่งเป็น ๒ กรณี คือ

กรณีที่ ๑ ถ้าราชบัลลังก์ว่างลงและมีการแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งต่อประธานรัฐสภาเพื่อรับทราบ และประธานรัฐสภามีหน้าที่เรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป

กรณีที่ ๒ ถ้าราชบัลลังก์ว่างลงและไม่มีการแต่งตั้งพระรัชทายาท ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบ และประธานรัฐสภามีหน้าที่เรียกประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในการนี้จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์เพื่อทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป

ทั้งนี้ บทบัญญัติสาหรับกระบวนการให้ความเห็นชอบผู้ทรงราชย์ฯ ในกรณีที่ ๑ และกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลฯ ดังกล่าวข้างต้นมีเจตนารมณ์เพื่อมิให้กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎ มณเฑียรบาลฯ และการทรงราชย์ของพระรัชทายาทมีความเกี่ยวข้องกับการเมือง

The Palace Law was promulgated at the first time in the era of Ayutthaya Kingdom, in accordance with presumption of historians, this law was enacted in B.E. 2011 during Somdet Phra Boromma Trailokanat period in order to build stability and security for palace and the king. After that several Palace Laws were promulgated in the era of Rattanakosin Kingdom. However, there was no Palace Law on succession until the Palace Law on Succession, B.E. 2467 has been enacted in the period of King Rama VI, resulting to the more stable and apparent of succession process. After The Siamese Revolution in B.E. 2475, the Palace Law on Succession, B.E. 2467 was accepted and stipulated in the first constitution, Temporary Charter for the Administration of Siam Act, B.E. 2475. During B.E. 2475 to the present time, the Palace Law on Succession, B.E. 2467 has been stipulated in 13 constitutions. But this palace law has never been stipulated clearly in 6 Constitutions. Succession process must follow or shall be in accordance with the Palace Law on Successtion, B.E. 2467. Like foreign constitutions; Denmark or Japan etc. are similar to Thai Constitution because the Palace Law on sucession has been stipulated in constitution of these countries in the same manner.

The Palace Law on Succession, B.E. 2467 may be regarded as a special law, Stipulating is in the same manner in Constitution of The Kingdom of Thailand, B.E. 2534, Constitution of The Kingdom of Thailand, B.E. 2540 and Constitution of The Kingdom of Thailand, B.E. 2550. Due to the amendment of the Palace Law on Succession, B.E. 2467 shall be the prerogative of the king so the Privy Council becomes organization for drafting the Palace Law Amendment.

The role of Parliament for ascending the Throne has the same manner in 3 constitiutions, mention in the paragraph above, which has been categorized in 2 cases.

The first case, when the Throne becomes vacant and the King has already appointed His Heir to the Throne, the Council of Ministers shall notify the President of the National Assembly. The President of the National Assembly shall then convoke the National Assembly for the acknowledgement thereof and shall invite such Heir to ascend the Throne.

The second case, when the Throne becomes vacant and the King has not appointed His Heir, the Privy Council shall submit the name of the Successor to the Throne to the Council of Ministers for further submission to the National Assembly for approval. For this purpose, the name of a Princess may be submitted. Upon the approval of the National Assembly, the President of the National Assembly shall invite such Successor to ascend the Throne.