ปัญหาการเสื่อมโทรมของดินและดินปนเปื้อนนับเป็นปัญหาวิกฤตสำคัญของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน โดยมีสาเหตุมาจาก
ทรัพยากรดินของประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 153 ล้านไร่ หรือร้อยละ 47.77 ของพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีพื้นที่ดินคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์สำหรับทำเกษตรกรรม จำนวนประมาณร้อยละ 33 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด ประกอบด้วย ดินกรด (จำนวน 95.4 ล้านไร่) ดินตื้น (จำนวน 46.1 ล้านไร่) ดินดาน (จำนวน 27.3 ล้านไร่) ดินเค็ม (จำนวน14.3 ล้านไร่) ดินทรายจัด (จำนวน 12.5 ล้านไร่) ดินเปรี้ยวจัด (จำนวน 6.2 ล้านไร่) และ ดินอินทรีย์ (จำนวน 0.3 ล้านไร่) จากลักษณะดินเสื่อมโทรมข้างต้นก่อให้เกิดผลเสีย อาทิ พื้นที่เพาะปลูกลดลง สูญเสียธาตุอาหารพืชในดิน ปริมาณผลผลิตน้อยลง โครงสร้างดินถูกทำลาย การเก็บกักน้ำได้น้อยลง เกิดการตกตะกอนในลำน้ำ และกระทบต่อระบบนิเวศทั้งระบบ ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาดินเสื่อมโทรมจำเป็นต้องใช้มาตรการและวิธีการหลากหลายร่วมกัน ดังนี้
นอกจากปัญหาดินเสื่อมโทรมในภาคการเกษตรแล้ว ปัจจุบันยังพบปัญหาดินปนเปื้อนจากการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายและสารเคมี เนื่องจากการกำจัดของเสียอันตรายและสารเคมีตามหลักวิชาการมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้บางโรงงานหรือบุคคลลักลอบนำไปทิ้งในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่ขาดการตรวจสอบเพื่อเป็นการลดต้นทุน แต่ผลกระทบจากการทิ้งของเสียอันตรายและสารเคมีที่ปนเปื้อนในดิน หรือถูกชะจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนและสะสมในดินส่งผลต่อระบบนิเวศและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
จากปัญหาดินปนเปื้อนดังกล่าว หน่วยงานรับผิดชอบหลักโดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติจัดการกากอุตสาหกรรม พ.ศ. .... เพื่อให้เกิดการจัดการกากอุตสาหกรรมขยะอิเล็กทรอนิกส์ และซากรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อการระงับเหตุมิให้บานปลาย มีกระบวนการจัดการรวบรวม คัดแยก และการทำลายที่ทันสมัย รองรับเทคโนโลยีการผลิตที่มีความซับซ้อนให้ครบวงจรเพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารพิษลงสู่ชุมชนและแหล่งน้ำ รวมถึงการเยียวยาแก้ไขปัญหากรณีเกิดการรั่วไหลของสารพิษที่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการปนเปื้อนนานนับปี และสมควรให้มีกองทุนอุตสาหกรรมยั่งยืนในการป้องกัน เยียวยา สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย สุขภาพอนามัยของประชาชนและส่งเสริมผู้ประกอบการสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นเศรษฐกิจยุคใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านเว็บไซต์ ซึ่งหากมีการพิจารณาและนำไปสู่การบังคับใช้แล้วจะส่งผลดีต่อประเทศในหลายด้านทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว การคุ้มครองสุขภาพของประชาชนและการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาการจัดการกากอุตสาหกรรม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว และส่งผลดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนต่อไป
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 หอสมุดรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : +66(0) 2242 5900 ต่อ 5714, 5715, 5721-22 โทรสาร : +66(0) 2242 5990
อีเมล : library@parliament.go.th