กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 1 การเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “บทบาทห้องสมุดสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล”

Event type
Meeting and Seminar
Unit
Information Technology Resources Development Division
Start date
End date
Venue
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 1 การเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “บทบาทห้องสมุดสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล”

วิทยากร : นางสาวอัมพร อู่รัชตมาศ นางสาวเปี่ยมสุข ทุ่งกาวี และนางอังคณา อินทรพาณิชย์ 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการเสวนาต่อหอสมุดรัฐสภา

  • ทำให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวไปสู่ Smart Library และเป็นการกระตุ้นหรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรของหอสมุดรัฐสภา พัฒนาตนเองไปสู่การเป็น Smart Librarian เพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์บริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในยุคปัจจุบันมากขึ้น
  • ได้แนวทางการเสริมสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของบรรณารักษ์ที่ไม่ใช่เพียงการทำงานหลังบ้านเท่านั้นแต่บรรณารักษ์ต้องทำงานเชิงรุก โดยการนำตัวเองไปแทรกอยู่ในกิจการหรือกิจกรรมของหน่วยงานอื่น ๆ ในสำนักงานเพื่อช่วยในด้านข้อมูล เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ๆ ให้กับห้องสมุด
  • ได้แนวทางในการจัดเตรียมบริการต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ และบริการ ณ ที่ตั้งซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นไปได้ในยุคปัจจุบัน
  • กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกของการทำงานเป็นทีมในองค์กรเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ
  • การจัดกิจกรรมโดยเปิดโอกาสให้บุคคลผู้สนใจภายนอกเข้ามาร่วมรับฟังนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์หอสมุดรัฐสภาต่อชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงห้องสมุด ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายสำคัญในการทำงานร่วมกันในอนาคต อันเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ในการบริการสังคมของหอสมุดรัฐสภา 
  • หลังจากผ่านกิจกรรมทั้ง ๕ ครั้ง ในการสร้างความเข้าใจ และการเข้าถึงผู้ใช้บริการแล้วแต่ละกลุ่มงานควรนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเป็นการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานแบบยั่งยืนต่อไป
  • หอสมุดรัฐสภาควรมีการแบ่งการทำงานเป็นทีม ตามความถนัดควรมีการช่วยเหลือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด เช่น บางท่านอาจถนัดในการสร้าง Content บางท่านอาจถนัดทาง Graphic หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ควรมาร่วมมือกัน 
  • อาจมีการฝึกทีมบรรณารักษ์เพื่อช่วยเหลือด้านการทำวิจัย โดยร่วมมือกับกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา โดยบรรณารักษ์อาจช่วยเหลือให้คำแนะนำในเรื่องการสืบค้นข้อมูล จริยธรรมการใช้สารสนเทศ และการอ้างอิง เป็นต้น