กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ห้องสมุดกับการสร้างสรรค์ Digital content”

Event type
Meeting and Seminar
Unit
Information Technology Resources Development Division
Start date
End date
Venue
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ห้องสมุดกับการสร้างสรรค์ Digital content” 

วิทยากร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวนาถ  นันทพิชัย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 13.00-15.30 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการบรรยายต่อหอสมุดรัฐสภา

  • ทำให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวจากการเป็นผู้ให้บริการไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์เนื้อหา หรือ Digital Content เน้นการส่งเนื้อหาให้ถึงมือผู้รับแบบเชิงรุก
  • ได้แนวทางการเสริมสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของบรรณารักษ์ที่จะสร้างงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เช่น การจัดทำ Podcast ร่วมกับกลุ่มงานต่าง ๆ ในสำนักวิชาการในการนำเสนอ Content ต่าง ๆ
  • ทำให้เกิดแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการสร้าง Content ของห้องสมุดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและทำการตลาดผ่าน Platform ต่าง ๆ ให้หลากหลายยิ่งขึ้น
  • เกิดแนวคิดที่จะนำ Content ชุดเดียวกันมาปรับให้อยู่ในหลายรูปแบบ เช่น นำอินโฟกราฟิกที่มีอยู่แล้วมาจัดหมวดหมู่และเลือกบางส่วนที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกันมาทำ Tiktok
  • หอสมุดรัฐสภาควรมีการแบ่งการทำงานเป็นทีม ตามความถนัดควรมีการช่วยเหลือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด เช่น บางท่านอาจถนัดในการสร้าง Content บางท่านอาจถนัดทาง Graphic หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ควรมาร่วมมือกัน