กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 4 การบรรยาย หัวข้อ “ความสำคัญของสารสนเทศในมุมมองของนักวิชาการและอนุกรรมาธิการ”

Event type
Meeting and Seminar
Unit
Information Technology Resources Development Division
Start date
End date
Venue
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

 

กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 4 การบรรยาย หัวข้อ “ความสำคัญของสารสนเทศในมุมมองของนักวิชาการและอนุกรรมาธิการ”

วิทยากร :

ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ    อนุกรรมาธิการฯ ในคณะกรรมาธิการ การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร

นางสาวอัปสร กฤษณะสมิต อนุกรรมาธิการฯ ในคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร

อาจารย์เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา อาจารย์สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.00-12.00 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

  • ทำให้ทราบแหล่งสารสนเทศสำคัญในสองสาชาวิชา ได้แก่ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ซึ่งสามารถนำมารวบรวมจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อและ link เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ
  • บุคลากรรัฐสภาที่มีหน้าที่ในการให้บริการสารสนเทศ ได้เห็นแนวทางพัฒนาการทำงานและการให้บริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการกลุ่มที่เป็นอนุกรรมาธิการ และนักวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของหอสมุดรัฐสภา งานจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
  • เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างอัตลักษณ์ขององค์กร เพื่อให้เกิดจุดเด่นที่สามารถดึงดูดคนให้สนใจในบริการของรัฐสภา ในลักษณะการเป็น Landmark ที่คนต้องนึกถึง
  • เกิดแนวคิดในการพัฒนางานบริการสารสนเทศในการให้เป็นบริการเพื่อสนองต่อประชาชนมากขึ้น
  • การให้บริการสารสนเทศโดยร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อให้การบริการเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
  • ควรพัฒนาแนวทางในทางกายภาพให้เกิดบรรยากาศที่ทันสมัย และสามารถเป็นพื้นที่ทำงานร่วมกันโดยอาจจัดเป็นโซนต่าง ๆ