กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 5 การบรรยาย หัวข้อ “หอสมุดรัฐสภากับความคาดหวังของบุคลากรรัฐสภา”

Event type
Meeting and Seminar
Unit
Information Technology Resources Development Division
Start date
End date
Venue
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา  ครั้งที่ 5 การบรรยาย หัวข้อ “หอสมุดรัฐสภากับความคาดหวังของบุคลากรรัฐสภา”

วิทยากร : นายนพรัตน์ ทวี  ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
นางอรณิช รุ่งธิปานนท์  ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานกิจการพิเศษ สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
นายอภิวัฒน์ สุดสาว นิติกรชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา


วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ
จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันและเวลา : วันพุธ 15 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00-15.30 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

  • ควรมีการจัดทำแผนการดำเนินงานของหอสมุดรัฐสภาให้ชัดเจน เพราะแผนจะเชื่อมโยงไปถึง การจัดบริการที่สอดคล้องกัน และทำให้บุคลากรหอสมุดมีความเข้าใจที่ตรงกันในทิศทางเดียวกัน
  • หอสมุดรัฐสภาควรสร้างอัตลักษณ์ขององค์กร เพื่อให้เกิดจุดเด่นที่สามารถดึงดูดคนให้สนใจ ในบริการของหอสมุดรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนิติบัญญัติ รายงานการประชุมสภา และรายงาน การประชุมกรรมาธิการต่าง ๆ
  • หอสมุดรัฐสภาควรเน้นการให้บริการเชิงรุก เพื่อทำให้ผู้ใช้บริการเห็นความสำคัญ เพราะข้อมูลจากหอสมุดรัฐสภาย่อมจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าข้อมูลที่เผยแพร่อยู่ทั่วไป
  • การให้พัฒนางานควรร่วมมือกันเป็นทีมโดยกำหนดคนรับผิดชอบหลักเพื่อให้สามารถให้นำไปใช้เป็นผลงานในการประเมินได้ด้วย
  • หอสมุดรัฐสภาควรเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่เอกสารวิชาการของสำนักงาน หากใครต้องการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา ควรหาได้จาก Platform กลางซึ่งหอสมุดรัฐสภาได้รวบรวมไว้ให้ ไม่ต้องไปค้นจากหลายแหล่ง
  • หอสมุดควรเป็นหน่วยที่สามารถให้ความช่วยเหลือบุคลากรรัฐสภาในเรื่องของการสืบค้นข้อมูล การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การอ้างอิง การขอ ISBN และการแนะนำการจัดทำเอกสารวิชาการให้มีความน่าเชื่อถือ
  • ควรเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประชาธิปไตยสำหรับประชาชนทั่วไป และเป็นผู้ผลิตข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐสภาแบบง่าย ๆ เพื่อให้ทุกคนนำองค์ความรู้นี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง