การแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า: กรณีศึกษาจีนและอินเดีย

การแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า: กรณีศึกษาจีนและอินเดีย

แก้ปัญหาความยากจนผ่านมุมมองจีนและอินเดีย

แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าเฉพาะแบบจีนและอินเดีย อยู่ในวิสัยที่จะนำมาปรับประยุกต์ใช้ในรูปแบบและวิถีแบบไทยได้ ดังนี้

1. รัฐบาลควรใช้แนวทางการแก้ปัญหาความยากจน "แบบพุ่งเป้า" เช่นจีน เป็นแนวทางหลัก จัดให้มีแผนแม่บทการบูรณาการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ
2. จัดตั้ง "สำนักงานบูรณาการการแก้ปัญหาความยากจน" โดยมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีการองรับ และควรออกแบบหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ความคล่องตัว ความโปร่งใส และมีหลักประกันด้านงบประมาณสนับสนุน
3. จัดให้มี "กองทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า" เพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment Fund - SIF) และมีลักษณะการแก้ไขปัญหาแบบตาข่ายนิรภัยสังคม (Social Safety Net)
4. สร้างความร่วมมือแบบภาคีพันธมิตรระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อช่วยเป็นพี่เลี้ยงชุมชนและครอบครัวยากจนแบบประกบคู่
5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจคนยากจนเป็นรายครัวเรือน จัดทำเป็นแฟ้มโครงการและประวัติการพัฒนาเฉพาะครัวเรือน
6. ภาคประชาสังคม ควรถือการแก้ปัญหาความยากจนเป็นเป้าหมายใหญ่ร่วมกัน รวมทั้งร่วมมือกับภาครัฐ ธุรกิจ CSR และกลุ่มจิตอาสา

 

ที่มา : คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา. (2563). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า : กรณีศึกษาประเทศจีนและอินเดีย ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา. (https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/578731)

ผู้จัดทำ :
บุษราภรณ์ อัครนิธิยานนท์, บรรณารักษ์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วิลาวรรณ์ บุตดา, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
Created on