มอญซ่อนสยาม: ความผูกพันกับสยามในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน

มอญซ่อนสยาม: ความผูกพันกับสยามในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน

สารคดีว่าด้วยชาติพันธุ์มอญในอาณาจักรสยาม

ชาติพันธุ์มอญ ได้ขยายอาณาบริเวณการอยู่อาศัยไปยังลุ่มน้ำต่าง ๆ และตั้งถิ่นฐานในราชอาณาจักรสยาม มายาวนาน โดยชาวมอญมีความเชี่ยวชาญด้านการทำนา ทำสวน และทำการประมง นอกจากนี้ ยังมีความชำนาญในด้านศิลปกรรมหลากหลายแขนง เช่น การปั้นดิน ภาชนะดินเผา การปั้นอิฐ หรือที่เรียกว่า "อิฐมอญ" และการขึ้นล่องทางเรือ เป็นต้น รวมถึง อาหารการกิน ศิลปะ ภูมิปัญญา อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวมอญสืบทอดมาจากบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง 

โดยหนังสือ "มอญซ่อนสยาม : ความผูกพันกับสยามในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน" เป็นสารคดีว่าด้วยชาติพันธุ์มอญในอาณาจักรสยาม ซึ่งผู้เขียนได้ลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลทุกภูมิภาค จากการพบปะพูดคุยกับชาวมอญเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาในหลากหลายสาระ และได้เล่าถึงความเป็นอยู่ของชาวมอญในสยามในพื้นที่ต่าง ๆ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน เช่น ชาวมอญสามโคก ปทุมธานี ชุมชนมอญวัดศาลาแดงเหนือเชียงรากน้อย ชาวมอญปากเกร็ด คลองบางหลวง วัดรามัญประดิษฐาราม ชุมชนมอญเสากระโดง วัดทองบ่อ ขนอนหลวง บางปะอิน ชาวมอญลุ่มน้ำท่าจีน วัดเกาะ ชาวมอญเมืองสมุทรสาคร ชุมชนกระทุ่มมืด วัดสโมสร คลองหม่อมแช่ม คลองบางกระดี่ แขวงแสมดำ บางขุนเทียน บางจะเกร็ง วัดศรัทธาธรรม เจ็ดริ้ว บ้านแพ้ว

หนังสือมอญซ่อนสยาม เล่มนี้ เป็นเรื่องราวเสมือนเป็นบันทึกชุมชนมอญในพื้นที่ต่าง ๆ ในภาคกลางที่น่าจะเป็นประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของผู้คนชาวมอญที่ทรงคุณค่า ควรแก่การศึกษาและถ่ายทอดสืบต่อไปของชาวมอญในประเทศไทย   

หนังสือ "มอญซ่อนสยาม : ความผูกพันกับสยามในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : บุญยงค์ เกศเทศ. (2562). มอญซ่อนสยาม: ความผูกพันกับสยามในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน. [DS 570.M6 บ532ม 2562]

ผู้จัดทำ :
จิดาภา ทับเกษมปิติโสภา, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
ปภาดา สุประพัฒน์โภคา, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
Created on