พวกฉัน พวกมัน พวกเรา

พวกฉัน พวกมัน พวกเรา

เราจะออกจากวังวนแห่งความขัดแย้งได้อย่างไร

การอยู่ร่วมกันบนโลกหรือในสังคมซึ่งประกอบไปด้วยคนต่างชาติพันธุ์ ต่างศาสนา ต่างภาษา หรือการอยู่ร่วมกันในสังคมของคนชาติพันธุ์เดียวกันที่มีความคิดแตกต่างกันในแง่ของหลักความเชื่อและจริยธรรมนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เราจึงเผชิญปัญหาความขัดแย้งมากมาย นั่นเพราะเราไม่สามารถตกลงกันได้ว่าอะไรถูกหรือผิด รวมถึงสังคมปัจจุบันคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันนั้น แน่นอนการแบ่ง "พวกฉัน" และ "พวกมัน" ด้วยค่านิยมที่ต่างกันชัดเจนและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และการแบ่งพรรคพวกด้วยความแตกต่าง เราจึงฟาดฟันกันเอง ทะเลาะกันได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จนบางครั้งความขัดแย้งนำมาซึ่งเลือดเนื้อการสูญเสียและชีวิต เราจึงตั้งคำถามว่า จะเป็นไปได้ไหม ที่เราจะค้นพบจุดที่เราจะเข้าใจตรงกันในทุก ๆ เรื่อง

"พวกฉัน พวกมัน พวกเรา" เป็นหนังสือที่ผู้เขียนพยายามอธิบายถึงปัญหาเชิงจริยธรรมและเสนอแนวคิดที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาเชิงจริยธรรม ได้แก่ โศกนาฏกรรมแห่งทรัพยากรสาธารณะ กลไกทางจริยธรรม และปัญหาความขัดแย้งในทุ่งหญ้าแห่งใหม่ ที่นำปัญหาของยุคปัจจุบันคือความขัดแย้งระหว่าง "พวกเรา" "พวกเขา" ผลประโยชน์และค่านิยมมาแสดงอุปมาให้เห็น

อีกทั้งเปรียบเทียบสมองส่วนจริยธรรมที่เปรียบเสมือนกล้องถ่ายภาพ 2 ระบบ มีทั้งระบบอัตโนมัติ ("ภาพบุคคล", "ภาพทิวทัศน์") และระบบควบคุมด้วยตนเอง ระบบอัตโนมัติมีประสิทธิภาพแต่ไม่ยืดหยุ่น ระบบควบคุมตนเองยืดหยุ่นแต่ไม่มีประสิทธิภาพ และระบบอัตโนมัติของสมองส่วนจริยธรรม คือ อารมณ์เชิงจริยธรรม เป็นความรู้สึกระดับสัญชาตญาณที่ช่วยให้เราร่วมมือกันได้ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและภายในกลุ่มเล็ก ๆ ในทางตรงกันข้ามระบบควบคุมด้วยตนเองคือ ความสามารถพื้นฐานในการใช้เหตุผลเชิงปฏิบัติที่สามารถช่วยแก้ปัญหาเชิงจริยธรรมหรือปัญหาเชิงปฏิบัติอื่น ๆ รวมถึงอารมณ์และเหตุผลมีผลต่อการคิดเชิงจริยธรรมอย่างไร และจริยธรรมแบบ 2 กระบวนการ สะท้อนถึงโครงสร้างพื้นฐานของจิตใจมนุษย์อย่างไร

อีกทั้งหลักการร่วม (Common Currency) ค้นหาอภิจริยธรรม (metamorality) หรือปรัชญาสากลที่สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางจริยธรรมระหว่างเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ รวมถึงปรัชญาประโยชน์นิยม (utilitarianism) ค่านิยมและกระบวนการใช้เหตุผลที่รับรู้กันในระดับสากลนั้น ก่อให้เกิดหลักปรัชญาประโยชน์นิยมได้อย่างไร ตลอดจนคำครหาทางจริยธรรม การกระทำที่น่าตกใจ ความถูกต้องและความยุติธรรม รวมถึงเสนอวิธีการแก้ปัญหาเชิงจริยธรรม ได้แก่ ปฏิบัตินิยมเชิงลึก เหนือกว่าจริยธรรมแบบเล็งแล้วกด : กฎ 6 ข้อสำหรับคนเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ ที่จะช่วยให้มีความเข้าใจชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการทำงานของกลไกทางจริยธรรมและปัญหาจริยธรรมในสังคม ได้แง่คิดที่จะนำทางเราผ่านมุมมองศีลธรรมของโลกปัจจุบัน เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและให้ดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น 

หนังสือ "พวกฉัน พวกมัน พวกเรา" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : กรีน, โจชัว. (2563). พวกฉัน พวกมัน พวกเรา. [BJ 1031 ก256พ 2563]

ผู้จัดทำ :
สายฝน ดีงาม, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
สารภี ช้างพลี, เจ้าพนักงานห้องสมุดอาวุโส กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
Created on