การปฏิวัติคอนเทนต์ในยุคแห่ง AI

การปฏิวัติคอนเทนต์ในยุคแห่ง AI

ความกลัวปัญญาประดิษฐ์คือสิ่งที่น่ากลัวที่สุด ความจริงมันเป็นพาร์ตเนอร์ที่ดีและทำงานด้วยกันได้

เมื่อคำว่า Creativity ของมนุษย์เราคือการคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา และถ้าสิ่งนั้นได้รับการยอมรับก็จะถูกจารึกว่าเป็นการคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า แต่กับ AI นั้นเป็นคนละด้านแต่สามารถได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันได้ เมื่อนิยามคำว่าความคิดสร้างสรรค์หรือ Creativity ของ AI คือการสามารถเรียนรู้จากข้อมูลความคิดสร้างสรรค์จำนวนมาก จากนั้นก็เรียนรู้ว่า Creativity Data แบบไหนที่ควรเอาเยี่ยงอย่างเพราะได้รับการยอมรับ และก็ได้เรียนรู้ว่า Creativity Data แบบไหนที่ควรเรียนรู้เพื่อไม่เอาเยี่ยงอย่าง เพราะไม่ประสบความสำเร็จมากพอ

หอสมุดรัฐสภา ได้จัดหาหนังสือที่น่าสนใจอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการเพื่อนำไปใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องรองรับกับสถานการณ์ COVID-19 และบริบทปัจจุบัน ในวันนี้จะขอแนะนำหนังสือที่นำเสนอเรื่องของนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ ได้แก่ "การปฏิวัติคอนเทนต์ในยุคแห่ง AI" โดย โคชันซู ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ของสถานี KBS Entertainment ผู้ผลิตรายการบันเทิงเกาหลี และผู้ขับเคลื่อนแนวทางการทำคอนเทนต์ในอนาคตของเกาหลี นำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวมของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นแล้วจาก AI ในอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ทุกรูปแบบ การรวบรวมพัฒนาการของ AI ในหลายอุตสาหกรรมที่ขายหรือเกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ โดยเฉพาะพวกอุตสาหกรรมความบันเทิง ไล่ตั้งแต่อุตสาหกรรมทีวี อุตสาหกรรมวิทยุและ podcast อุตสาหกรรมกีฬา อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมข่าว อุตสาหกรรมการศึกษา และอุตสาหกรรมศิลปะ ดังนั้น ถ้าใครอยากรู้ว่า AI หรือปัญญาประดิษฐ์นั้นทำได้ขนาดไหนแล้วในวันนี้ จึงควรอ่านหนังสือเล่มนี้เพราะเต็มไปด้วยคำตอบพร้อมตัวอย่างที่เขียนด้วยภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย

หนังสือ "การปฏิวัติคอนเทนต์ในยุคแห่ง AI" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : โคชันซู. (2563). การปฏิวัติคอนเทนต์ในยุคแห่ง AI. [Q 335 ค951ก 2563]

ผู้จัดทำ :
บัณฑิต อุทาวงค์, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
วิภาวรรณ เส็งจีน, เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
Created on