Member of the House of Representatives

อินโฟกราฟิก เรื่อง สิทธิประโยชน์ที่อดีต ส.ส. / ส.ว. ได้จากกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา

 

สิทธิประโยชน์ที่อดีต ส.ส. / ส.ว. ได้จากกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​

  • ค่าเล่าเรียนบุตร
  • ค่ารักษาพยาบาล
  • เงินช่วยเหลือกรณีทุพพลภาพ
  • เงินทุนเลี้ยงชีพ ตามระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง 9,000 - 35,600 / เดือน
  • เงินช่วยเหลือกรณีถึงแก่กรรม ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​

อ่านเพิ่มเติม

อินโฟกราฟิก เรื่อง ส.ส. หาเสียงใช้เงินได้เท่าไหร่?

 

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566

ข้อ 5 ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่ละคนต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้

     (1) ในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร ​ ต้องใช้จ่ายไม่เกิน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน)

     (2) ในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการยุบสภาหรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างต้องใช้จ่ายไม่เกิน ​ 1,900,000 บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนบาทถ้วน)

อินโฟกราฟิก เรื่อง สิทธิประโยชน์ของ ส.ส.

 

สิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ ​ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดทำหนังสือชื่อ "สิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2557" ขึ้น โดยแบ่งสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ดังนี้

อินโฟกราฟิก เรื่อง คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร ส.ส. 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 97 ได้บัญญัติไว้ ว่า บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ​

อินโฟกราฟิก เรื่อง ใครบ้างไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.

 

บุคคลต้องห้าม ไม่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย [พุทธศักราช 2560] มาตรา 98 ได้บัญญัติไว้ ว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ​

อินโฟกราฟิก เรื่อง ข้อหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ข้อหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นอย่างไร สมาชิกหารือได้ช่วงไหน?
การปรึกษาหารือตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 24 ระบุว่า
ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ประธานอาจอนุญาตให้สมาชิก
ปรึกษาหารือปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนหรือปัญหาอื่นใดได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานสภากำหนด และให้ประธานสภาส่งเรื่องดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ชี้แจงภายใน 30 วัน และแจ้งให้สมาชิกทราบ

อินโฟกราฟิก เรื่อง ศัพท์สภาน่ารู้ :วิป (Whip)

วิป (Whip) หมายถึง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทำหน้าที่ควบคุมการลงคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎร เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในพรรคการเมืองที่จะติดต่อเชื่อมโยงบรรดาสมาชิกในการทำหน้าที่อย่างเป็นเอกภาพเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเสียงและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างพรรคการเมือง เพื่อให้การดำเนินการของสภาผู้แทนราษฎรดำเนินไปอย่างราบรื่น วิป ทำหน้าที่ในรูปแบบคณะกรรมการประสานงาน ประกอบด้วย คณะกรรมการประสานงานร่วมสภาผู้แทนราษฎร (วิปร่วม) คณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (วิปฝ่ายค้าน) คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)

อ่านเพิ่มเติม

อินโฟกราฟิก เรื่อง ศัพท์สภาน่ารู้ : การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ

📌การขออภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ

การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะเป็นการเสนอญัตติโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 
มักกระทำเมื่อเห็นว่าการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีไม่เป็นที่ไว้วางใจ

Subscribe to Member of the House of Representatives