ในการใช้ชีวิตประจำวัน “น้ำดื่ม” นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากในร่างกายของเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักถึงร้อยละ 70 ซึ่งช่วยในการขับเคลื่อนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และทำหน้าที่ในการขนส่งสารอาหารและออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉลี่ยควรดื่มน้ำสะอาด ให้ได้จำนวน 8 แก้วต่อวัน ซึ่งจะเท่ากับปริมาณ 2 ลิตร ถ้าเราดื่มน้ำไม่เพียงพอหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาดย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายได้ ดังนั้น การดื่มน้ำสะอาดจึงสามารถสร้างประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพกายและใจ ซึ่งโดยรวมแล้วจะส่งผลดีในเรื่องต่าง ๆ เช่น เติมความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย ช่วยระบบทางเดินอาหารและการขับถ่าย เพิ่มการไหลเวียนโลหิต เพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย เสริมการทำงานของสมอง บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยรักษานิ่วในไต ช่วยลดน้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งในทางกลับกัน หากดื่มน้ำไม่เพียงพอหรือไม่สะอาด ก็จะส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างร้ายแรง เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง เกิดความเหนื่อยล้า เป็นต้น ดังนั้น การมีน้ำดื่มสะอาดปลอดภัยถือเป็นความจำเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี แต่ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญของประเทศนั้น ๆ อีกด้วย
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปาตามพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 โดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ โดยมีพันธกิจหลัก 5 ประการ ได้แก่
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายให้ดำเนินการโครงการน้ำดื่มราคาประหยัดให้ประชาชน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงน้ำสะอาด ลดค่าใช้จ่ายในการครองชีพ โดยในปี 2567 ได้มอบหมายให้ กปภ. ดำเนินการโครงการน้ำดื่มราคาประหยัดให้ประชาชน ดังนี้
จากโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โครงการน้ำประปาดื่มได้” เป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญซึ่งเป็นไปตามนโยบาย “น้ำดื่มสะอาด ราคาประหยัดให้กับประชาชน” ของกระทรวงมหาดไทย เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในส่วนภูมิภาคด้วยน้ำดื่มสะอาด ปลอดภัย และถูกสุขอนามัย ทั้งนี้ กปภ. ได้แบ่งพื้นที่การเปิดให้บริการน้ำประปาดื่มได้ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดและลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน โดยพื้นที่น้ำประปาดื่มได้ของ กปภ. ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพและตรวจสถานภาพใบรับรองทุก 3 ปี จากกรมอนามัย ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเงื่อนไขจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งในด้านการตรวจสอบคุณภาพน้ำ การระบายตะกอน การจัดการข้อร้องเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจว่ายังคงติดตามดูแล และรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่องในทุกกระบวนการผลิตน้ำประปา ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพของน้ำดิบ ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาให้ได้มาตรฐานสำหรับการบริโภคก่อนแจกจ่ายให้กับประชาชน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของกระทรวงมหาดไทย
Copyright © 2022 National Assembly Library of Thailand
The Secretariat of the House of Representatives
1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
Tel: +66(0) 2242 5900 ex 5714, 5715, 5721-22 Fax: +66(0) 2242 5990
Email: library@parliament.go.th