แนวทางการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล

แนวทางการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล

บทสรุป เรื่อ งแนวทางการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้อ่านในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค มีดังนี้

1. การศึกษาพฤติกรรมการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มเป้าหมาย โดยศึกษาความต้องการความสนใจเพื่อพิจารณาเลือกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมกับประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการนำเสนอ และวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

2. การวางแผนกลยุทธ์ในปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ ความง่ายต่อการใช้งานโดยการพัฒนาในการเข้าถึงของผู้บริโภคหลากหลายขึ้น อาทิ การมีแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย มีความเสถียร และยืดหยุ่น

3. การวางแผนกลยุทธ์ในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยการกำหนดราคาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้มีราคาถูกกว่าหนังสือแบบรูปเล่ม

4. การวางแผนกลยุทธ์ในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านการใช้งานและการจัดเก็บ อาทิ การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของไฟล์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้สะดวกต่อการใช้งานและการจัดเก็บ การปรับปรุงช่องทางการประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาระบบการสั่งซื้อให้สะดวกต่อการใช้บริการของผู้บริโภค

อย่างไรก็ดี การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังมีข้อพึงระวัง 2 ประการ คือ

1) ในกรณีที่อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเวลานานหรือในช่วงเวลาก่อนเข้านอน แสงสีฟ้าจากเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e–Reader) ส่งผลให้การนอนหลับไม่สนิท

2) การจำหน่ายหนังสือนิยายและวรรณกรรมแปล บริษัทผู้จัดจำหน่าย ควรกำหนดให้ผู้ซื้อชำระเงินผ่านช่องทางบัตรเครดิตเท่านั้น เพื่อเป็นการคัดกรองอายุของผู้ซื้อให้เหมาะสมกับเนื้อหา

 

ที่มา : วิลาสิณี ฉายรัตน์ตระกูล. (2562). พฤติกรรมการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. เอกสารข่าวสารงานวิจัยและพัฒนา, 18 (204), 5-10. (https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/551565)

ผู้จัดทำ :
วัลยา พุ่มต้นวงค์, บรรณารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
ธัญญาภัทร์ โทจำปา, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
Created on