สรุปผลการประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อเรื่อง "อนาคตประเทศไทยในมิติการศึกษา วัฒนธรรม ภาษาและอัตลักษณ์ความเป็นไทย: ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ"

การประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 2 เรื่อง อนาคตประเทศไทยในมิติการศึกษา วัฒนธรรม ภาษาและอัตลักษณ์ความเป็นไทย: ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากสถาบันคลังสมองของชาติ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ได้รับการจัดสรรทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2564 ให้ดำเนินงานโครงการประสานงานสนับสนุนทุนวิจัยและผลักดันการใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยเชิงนโยบาย ตามความต้องการของรัฐสภาและหน่วยงานภาครัฐ และดำเนินงานขับเคลื่อนให้ผลงานวิจัยของ วช. ได้นำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบกับเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เห็นชอบให้สำนักวิชาการดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าร้วมประชุม การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 นาฬิกา โดยเป็นการประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

สรุปหัวข้อสำคัญของการประชุม

1. การบรรยายพิเศษ หัวข้อ อนาคตประเทศไทยในมิติการศึกษา

ความท้าทายของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • จำนวนนักเรียนลดลง สาเหตุจากอัตราการเกิดใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • คุณภาพการศึกษาไทยไม่พัฒนาขึ้น
  • ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสูง

ความท้าทายของการศึกษาขั้นอุดมศึกษา

  • คุณภาพของบัณฑิตไทยยังไม่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
  • จำนวนนักศึกษาลดลงส่งผลต่อการแข่งขันเข้าสู่มหาวิทยาลัย
  • งบประมาณลดลง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ (มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบ) และมหาวิทยาลัยในสังกัดรัฐ มีงบประมาณโดยรวมลดลงอย่างต่อเนื่อง

ภาพอนาคตอันพึงประสงค์ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • การกระจายอำนาจทางการศึกษา
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาสังคม
  • บริหารจัดการหลักสูตร โดยต้องมีความยืดหยุ่นและทันสมัย
  • กำหนดนโยบายด้าน Education Technology (EdTech) การกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายด้านเทคโนโลยีการศึกษา อันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้โรงเรียนต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์
  • เตรียมความพร้อมด้านกรอบความคิด (Mindset) ของครูและผู้บริหารเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงทิศทางการศึกษาไทยเพื่อไปสู่ภาพอนาคตที่พึงประสงค์

ภาพอนาคตอันพึงประสงค์ของการศึกษาขั้นอุดมศึกษา

  • การกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • การสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยเน้นไปที่การสร้างทักษะจริงให้กับนักศึกษา มากยิ่งขึ้น
  • การพัฒนาบุคลากรด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้ปฏิบัติงานจริง ในตลาดแรงงาน
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนให้มากขึ้น
  • หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล ควรออกแบบการกำกับดูแลที่เหมาะสมไม่เข้มงวดมากจนเกินไป ไม่ควรสร้างภาระให้กับมหาวิทยาลัยมากนัก ควรมีความยืดหยุ่นเพียงพอให้มหาวิทยาลัยปรับตัวได้

2. การบรรยายพิเศษ หัวข้อ อนาคตประเทศไทยในมิติวัฒนธรรมและภาษาไทย อัตลักษณ์ความเป็นไทย

  • วิถีชีวิตไทย อัตลักษณ์ความเป็นไทยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา
  • ศิลปะสถาปัตยกรรมไทย เป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างที่ผสมผสานกันระหว่าง งานด้านศิลปะและวิทยาการการก่อสร้างโดยมีพื้นฐานของวัฒนธรรมไทย
  • นาฏกรรมไทย นาฏกรรมไทยมีหลายหลายรูปแบบ เช่น นาฏกรรมโขน โดยมีการเรียนการสอน มาตั้งแต่สมัยอยุธยาและมีการฝึกหัดกันมาในรูปแบบการแสดงที่มีจารีตแห่งราชสำนัก แต่ไม่ได้กำหนดเป็นหลักสูตรอย่างชัดเจน 
  • ดุริยางคกรรมไทย เป็นการศึกษาที่รวมถึงเสียงที่เกิดขึ้นจากเครื่องดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีสมัยนิยมทั่วไป ดนตรีสมัยใหม่ และดนตรีอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาษาไทย ประเทศไทยไม่ใช่ดินแดนที่มีภาษาไทยเป็นภาษาเดียว ก่อนที่จะมีภาษาไทยใช้ มีการใช้ภาษาบาลีสันสกฤต มอญโบราณและเขมรโบราณ
Participants

นายสิฐสร กระแสร์สุนทร, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ

Event Date
2022-12-09
Year
2022
Source of Knowledge
From a Training, Meeting or Seminar
Author
สิฐสร กระแสร์สุนทร, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ