ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสําคัญกับเรื่องความยั่งยืนและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่นอกจากจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติเป็นวงกว้างแล้วยังส่งผลเสียต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วยส่วนใหญ่ภาวะโลกร้อนเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่เกิดมีการสะสมเป็นจํานวนมาก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ ปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดสภาวะโลกร้อนมาจากการปล่อยก๊าซพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมทําให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้นหรือที่เรียกกันว่าสภาวะเรือนกระจก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกให้มีอุณหภูมิขยับตัวเพิ่มสูงขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ได้มีการประชุมระดับนานาชาติขึ้นเพื่อหาทางแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ โดยได้มีการลงนามรับรอง “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change เรียกว่า “อนุสัญญา UNFCCC”) และมีผลใช้บังคับเมื่อปี ๒๕๓๗ โดยมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงแก้ไขผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งทําให้เกิดกลไกของการขายกรรมสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ การซื้อขายนี้เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” (Carbon Credit) ซึ่งเป็นระบบ Cap and Trade คือ ใครปล่อยคาร์บอนเกินเพดานก็จะมีต้นทุนที่ต้องจ่าย ส่วนธุรกิจที่ปล่อยต่ํากว่าเกณฑ์ จะสามารถนําส่วนต่างมาขายเป็นรายได้
ในต่างประเทศมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปที่ให้ความสําคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในอาเซียนประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่เริ่มจัดเก็บภาษีคาร์บอน สําหรับประเทศไทยโดยกรมสรรพสามิตได้เตรียมมาตรการจัดเก็บภาษีคาร์บอนในรูปแบบภาคบังคับ เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสามารถนําไปใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียม Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ ในการร่างโครงการสร้างภาษีภาคาร์บอน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO และบริษัท Big-Excise Department ซึ่งได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์
สําหรับประเทศไทยประเด็น “ภาษีคาร์บอน” (Carbon Tax) ได้มีการเริ่มดําเนินกระบวนการเชิงนโยบายมาตั้งแต่ปี 2550 และเริ่มถูกนําเสนอสู่สาธารณะประมาณปี 2565 ในช่วงระยะ 2 ปี ที่ผ่านมามีการยกร่างกรอบแนวคิดและกระบวนการนโยบายขับเคลื่อนภาษีคาร์บอนมีการสื่อสารสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่องความเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งที่เห็นด้วยและคัดค้าน รวมถึงข้อถกเถียงจากการคาดการณ์และประมาณการถึงมูลค่าผลกระทบต่าง ๆ ต่อต้นทุน (ราคา) สินค้าและการบริการที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ปลดปล่อยต่ํากว่าเกณฑ์ปริมาณ GHG จนถึงกิจการการผลิตและการบริโภคที่ปลดปล่อยปริมาณ GHG มากกว่าเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาต ซึ่งรวมถึงการบริโภคสินค้าต่าง ๆ ภาษีคาร์บอนเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกับทุกคนในสังคมจึงเป็นมาตรการหนึ่งที่ถูกเสนอให้นํามาใช้โดยมีวัตถุประสงค์
ที่จะช่วยกันลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายในปี 2573 ในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนลงร้อยละ 30-40 ในปี 2593 ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนลงให้ถึงความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และในปี 2608 การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon) ทั้งนี้ คาดว่าภาษีคาร์บอนของไทยจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้ทันต่อการออกกฎหมายจัดเก็บค่าธรรมเนียม (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ในปี 2569 เนื่องจากระบบภาษีคาร์บอนหนึ่งในบทบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... ซึ่งจะเป็นกฎหมายเรียกเก็บภาษีจากสินค้าที่กําหนดจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพื่อเป็นการจูงใจให้นักลงทุนด้านพลังงานพัฒนาพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในการดําเนินกิจกรรมซึ่งเป็นการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการในการคํานึงต้นทุนที่เกิดจากการก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (Polluter Pays Principle)
Copyright © 2022 National Assembly Library of Thailand
The Secretariat of the House of Representatives
1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
Tel: +66(0) 2242 5900 ex 5714, 5715, 5721-22 Fax: +66(0) 2242 5990
Email: library@parliament.go.th