พื้นที่ทางทะเลนับเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีชีวิตและสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก ด้วยเทคโนโลยี เครื่องมือ และผลผลิตสัตว์น้ำที่มีจำนวนมากขึ้น พัฒนาการของการทำประมงทะเลจึงขยายพื้นที่ทำการประมงออกไปไกลฝั่งมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อมีการทำประมงมากเกิน จนทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศต่าง ๆ เสื่อมโทรมและลดจำนวนลง ประเทศเจ้าของทรัพยากรสัตว์น้ำจึงมีการหวงแหนทรัพยากรที่มีอยู่ ประกอบกับพัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศ สิทธิหน้าที่ของรัฐในเขตทางทะเลต่าง ๆ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศที่มีพื้นที่ทางทะเลร่วมกัน การทำการประมงทะเลจึงต้องเป็นไปตามทั้งกฎหมายประมงภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าสัตว์น้ำที่สำคัญของโลก ผลผลิตส่วนใหญ่มาจากการจับสัตว์น้ำจากทะเล ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การทำการประมง แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประมงน้ำจืด ประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ และประมงนอกน่านน้ำไทย รวมถึงแบ่งเขตทางทะเลเป็น 4 เขต ได้แก่ ทะเลชายฝั่ง ทะเลนอกชายฝั่ง ทะเลนอกน่านน้ำไทย และทะเลที่อยู่ในเขตของรัฐชายฝั่งอื่น โดยเขตทะเลชายฝั่งและทะเลนอกชายฝั่ง เป็นทะเลที่อยู่ในน่านน้ำไทย ในขณะที่ทะเลนอกน่านน้ำไทย คือ ทะเลหลวงที่อยู่พ้นจากทะเลนอกชายฝั่ง และหมายความรวมถึงทะเลที่อยู่ในเขตของรัฐชายฝั่งอื่น เรือประมงไทยมีพื้นที่ทำการประมงทะเลที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทิศตะวันตกในพื้นที่ทะเลอันดามัน ติดต่อกับเมียนมา ทิศตะวันออกในพื้นที่อ่าวไทย ติดต่อกับกัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ในเขตพื้นที่ทางทะเลใกล้ชายแดนมีความสำคัญต่อกิจกรรมการประมงและการรักษาทรัพยากรทางทะเลระหว่างประเทศ ในการป้องกันข้อพิพาททางทะเลและการละเมิดเขตแดนทางทะเลระหว่างกัน นอกจากนั้น การกำหนดเขตทะเลต่าง ๆ ยังเป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (United Nations Convention on the Law of the Sea 1982) ที่แบ่งเขตทางทะเลออกเป็น 6 เขต ประกอบด้วย
ดังนั้น การประมงนอกน่านน้ำไทยจึงมี 2 ลักษณะ คือ การทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศภายใต้ความร่วมมือด้านการประมงและการทำประมงในเขตทะเลหลวง ซึ่งที่ผ่านมารูปแบบการเข้าทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศของเรือประมงไทย แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่
แต่ทั้งนี้เนื่องจากประเทศเจ้าของทรัพยากรหลายประเทศมีนโยบายไม่อนุญาตให้เรือประมงต่างชาติเข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำของตน จึงทำให้แนวโน้มของการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศไม่มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น หรือถ้าเป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตก็ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่เคร่งครัด นอกจากนั้น การทำประมงพาณิชย์ในบริเวณทะเลที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านก็ยังคงมีปัญหา เนื่องด้วยการแบ่งเส้นเขตแดนทางทะเลมีความซับซ้อน ไม่ชัดเจนเหมือนเขตแดนบนแผ่นดิน จึงทำให้ที่ผ่านมาประเทศไทยยังคงมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในหลายบริเวณ ประกอบกับปัญหาของทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยที่มีจำนวนลดลง จึงอาจทำให้เรือประมงไทยทำการประมงเข้าไปในเขตน่านน้ำของต่างประเทศเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการประมง เรือประมง ผู้ควบคุมเรือ และลูกเรือ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดกฎหมาย รวมถึงหน่วยงานของรัฐชายฝั่งต้องมีมาตรการที่รัดกุมและเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เรือประมงไทยเกิดโอกาสในการทำการประมงทะเลที่ยั่งยืนต่อไป
Copyright © 2022 National Assembly Library of Thailand
The Secretariat of the House of Representatives
1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
Tel: +66(0) 2242 5900 ex 5714, 5715, 5721-22 Fax: +66(0) 2242 5990
Email: library@parliament.go.th