การบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศไทย

The provincial administration contributing to the effectiveness of Thailand's development
Author
อธิพัฒน์ สินทรโก
มหาวิทยาลัยบูรพา
No. of Pages
254
Year
2562
Research Types
Research by Students

สาขา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ปีการศึกษา 2561
อาจารย์ที่ปรึกษา : กิจฐเชต ไกรวาส
                           สมชาย ปัญญเจริญ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ปัญหา และอุปสรรคการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่มีผลในการพัฒนาประเทศไทย ปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย และเสนอแนะแนวทางการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศไทย โดยผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาจากเอกสาร โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารโดยการทบทวนแนวความคิด ทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคไทย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การอรรถาธิบาย

ผลการวิจัยพบว่า จากบริบทและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของสังคมไทย ทั้งทางด้าน สถานการณ์ทางการเมือง ระบบศึกษา ระบบเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ปัญหา และอุปสรรคสำคัญที่ก่อให้เกิดข้อจำกัดในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในการพัฒนาประเทศไทย มี 7 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านการสั่งการจากบนล่าง 2) ปัญหาด้านงบประมาณกระจุกตัวอยู่ส่วนกลาง 3) ปัญหาด้านบุคลากรไม่เพียงพอต่อภารกิจ 4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการอำนาจและขาดอำนาจตัดสินใจ 5) ปัญหาด้านฐานข้อมูล 6) ปัญหาด้านกรอบระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าราชการ 7) ปัญหาการทุจริตในราชการส่วนภูมิภาค ปัจจัยความสำเร็จที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารงานราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย มีอยู่ 5 ปัจจัยได้แก่ 1) ปัจจัยด้านผู้นำ 2) ปัจจัยด้านการติดตาม และประเมินผล 3) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี 4) ปัจจัยด้านการแข่งขันในระดับจังหวัด และ 5) ปัจจัยด้านงบประมาณ และแนวทางการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลมีแนวทางสำคัญ 5 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การมอบอำนาจการตัดสินใจให้การบริหารราชการส่วนภูมิภาค 2) จัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับความต้องการของการของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3) โครงสร้างในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคต้องมีความกระชับและขอบข่ายงานที่ชัดเจน 4) ลดขนาดส่วนกลางและให้สำคัญกับการบริหารในเชิงพื้นที่ (Area based) และ 5) การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม การรับฟังปัญหา และความต้องการของประชาชน