วิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนการตายผิดธรรมชาติของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศญี่ปุ่น

Comparative Study of Unnatural Death Investigation Laws Between Thailand, Singapore and Japan
Author
จิณณ์พัชฌาณ์ ไชยมะโณ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
No. of Pages
147
Year
2021
Research Types
Research by Students
Sponsorship:
ได้รับทุนในการวิจัยจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

สาขา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นิติวิทยาศาสตร์)
ปีการศึกษา 2563
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิมลพักตร์ ศรีไวย์

 

ในประเทศไทยเมื่อมีการตายเกิดขึ้นโดยผิดธรรมชาติ และตายในระหว่างอยู่ในการควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จะต้องทำการสอบสวนการตาย ซึ่งอาจรวมไปถึงการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ แพทย์นิติเวช และผู้อื่นที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ไม่สามารถระบุสาเหตุการตายแค่เพียงจากการตรวจสอบภายนอกได้ หากไม่มีกระบวนการสอบสวนการ ตายและการชันสูตรพลิกศพที่ได้มาตรฐาน ก็จะยังมีข้อสงสัยจากสังคม นำไปสู่การชันสูตรพลิกศพรอบที่สอง เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น การศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนการตายผิดธรรมชาติระหว่างประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศญี่ปุ่น ระบุประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนการตายเพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการชันสูตรพลิกศพของประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่าการชันสูตรพลิกศพ รวมถึงการผ่าศพของทั้งประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อหาสาเหตุและพฤติการณ์การตาย ผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด แต่โดยเฉพาะประเทศไทยมีวัตถุประสงค์หลักเป็นไปตามกรอบประมวลกฎหมายอาญา กล่าวคือ เพื่อบังคับใช้กฎหมายและรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน อย่างไรก็ตาม ผู้รับผิดชอบหลักอันประกอบไปด้วยฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร รวมไปถึงการบัญญัติกฎหมายและการบริหารจัดการ ในกระบวนการชันสูตรพลิกศพของทั้งสามประเทศแตกต่างกัน โดยประเทศญี่ปุ่นมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย (ศึกษาเฉพาะ 5 เมืองใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น) สำหรับประเทศสิงคโปร์การบัญญัติกฎหมายและการบริหารจัดการมีความแตกต่างออกไป โดยมีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการสืบสวนการตายเป็นการเฉพาะ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นรูปแบบระบบการสืบสวนการตายที่แตกต่างของทั้งสามประเทศที่อาจนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดในการปรับใช้ และทำให้เกิดมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยต่อไป