7R ลดและเลี่ยงขยะพลาสติกในวิกฤตโควิด 19

7R ลดและเลี่ยงขยะพลาสติกในวิกฤตโควิด 19

ท่ามกลางสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ระบาดหนักในประเทศไทย ประชาชนต้องกักตัวอยู่ในที่พักอาศัยของตนมากขึ้น ร้านอาหารก็จำกัดเพียงการซื้อกลับบ้าน การให้บริการสั่งอาหารและสินค้าทางออนไลน์จึงมีการใช้สูงขึ้นมากด้วย เป็นช่องทางที่ช่วยให้การใช้ชีวิตได้สะดวกสบาย หลีกเลี่ยงการสัมผัสและลดการแพร่กระจายเชื้อ ในทางกลับกันมีปริมาณขยะพลาสติกที่เป็นถุงพลาสติก กล่องพลาสติก และพลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเพิ่มขึ้นจากเดิม 1,500 ตันต่อวันเป็น 6,300 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นปัญหาและสิ่งท้าทายของประเทศไทยที่มุ่งจะลดปริมาณขยะและมลพิษจากพลาสติกใช้แล้วทิ้งให้เหลือศูนย์ตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573

การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคตามหลัก 7R ได้แก่ 

  • Reduce ลดการใช้พลาสติก
  • Reuse ใช้ซ้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • Refill เลือกนำภาชนะส่วนตัวไปเติม ณ จุดเติมสินค้า
  • Return เลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีระบบมัดจำสินค้า เช่น ซื้อเครื่องดื่มในขวดแก้ว นำขวดคืนร้านค้า แล้วได้เงินคืน
  • epair ใช้อย่างทะนุถนอม ซ่อมแซมเท่าที่ทำได้
  • Replace เลือกใช้สิ่งอื่นแทนพลาสติก) และ 
  • Recycle แยกขยะให้เป็นนิสัย บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกรีไซเคิลจะได้เข้าสู่ระบบรีไซเคิล

7R จึงยังเป็นหลักการที่ดี มีประสิทธิภาพและเป็นทางเลือกการลดขยะพลาสติกในช่วงวิกฤต โควิด 19 ที่จะช่วยให้มีการตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนให้รู้เท่าทันการจับจ่ายซื้อสินค้าของตนเอง มีการไตร่ตรองมองหาสิ่งอื่นที่มีอยู่หรือความจำเป็นก่อนการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าทุกครั้ง จะช่วยลดมลพิษขยะพลาสติกลงได้อย่างมาก อาจมีเพียงจำนวนเล็กน้อยมากที่ต้องไปอยู่ในหลุมฝังกลบและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ควบคู่ร่วมไปกับการบริหารจัดการขยะพลาสติกโดยมาตรการทางกฎหมาย ให้ประเทศไทยไม่มีขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ไม่ก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมในอนาคต ไม่เป็นประเทศอันดับ 5 ของโลกที่สร้างขยะพลาสติกมากที่สุด และก้าวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน

 

ที่มา : 

  • ณิชชา บูรณสิงห์. (2563). ขยะพลาสติกจากบริการเดลิเวอรี่ ผลกระทบจาก COVID-19. Hot Issue, (10), 1-6. (https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/568695)
  • https://www.greenpeace.org/thailand/story/16588
ผู้จัดทำ :
แสงอรุณ อนุเคราะห์, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
เจตนนาฎ สุวรรณดี, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
Created on