เทคนิคการประเมินโครงการ

เทคนิคการประเมินโครงการ

ก่อนที่คุณจะตัดสินคุณค่าของโครงการ/โปรแกรมต่าง ๆ นักประเมินควรทำความรู้จักหรือทำความเข้าใจโครงการ

ทำไมต้องประเมินโครงการ ในการประเมินโครงการมีเป้าประสงค์หลักคือ ต้องการข้อมูลที่บ่งชี้ว่าโครงการที่ดำเนินการนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่หรือเป็นโครงการที่คุ้มค่าต่อการตัดสินใจในการดำเนินการหรือไม่ รวมถึงการศึกษาว่าในการดำเนินการโครงการมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขในเรื่องอะไรบ้าง  และเป็นโครงการที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด

หอสมุดรัฐสภา ได้จัดหาหนังสือที่น่าสนใจอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการเพื่อนำไปใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องรองรับกับสถานการณ์ COVID-19 และบริบทปัจจุบัน ในวันนี้จะขอแนะนำหนังสือที่นำเสนอเรื่องของการประเมินโครงการได้แก่ "เทคนิคการประเมินโครงการ" โดย สมคิด พรมจุ้ย ซึ่งผู้เขียนได้ปรับปรุงและรวบรวมแนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการติดตามและประเมินโครงการ รวมทั้งเสนอเทคนิคการปฏิบัติเกี่ยวกับการติดตามและประเมินเชิงประจักษ์ จากการบรรยายและดำเนินการประเมินโครงการมาร่วมกว่า 15 ปี เนื้อหาภายในเล่มแบ่งออกเป็น 16 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 ถึงบทที่ 10 ว่าด้วยหลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินโครงการ บทที่ 11 ถึงบทที่ 16 เป็นการนำเสนอกรณีตัวอย่างการประเมินแผนพัฒนา และการประเมินโครงการ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถเห็นแนวทางการประเมินที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

หนังสือ "เทคนิคการประเมินโครงการ" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : สมคิด พรมจุ้ย. (2563). เทคนิคการประเมินโครงการ. [HD 69.P75 ส234ท 2563]

ผู้จัดทำ :
บัณฑิต อุทาวงค์, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
วิภาวรรณ เส็งจีน, เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
Created on