รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน

รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน

การมีส่วนร่วมของประชาชนมีประโยชน์ต่อภาครัฐทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการบริหารงานของภาครัฐ ทำให้การตัดสินและการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนช่วยลดการใช้ทรัพยากรภาครัฐ ทั้งบุคลากรและงบประมาณในการพิจารณาศึกษาข้อมูล และช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐและประชาชน

การมีส่วนร่วมของประชาชนถูกบัญญัติไว้ให้เป็นสิทธิของประชาชน ได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หลายมาตรา ผลจากการพิจารณาศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน เห็นสมควรให้มีการจัดทำร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เกิดความยั่งยืนในระบอบประชาธิปไตย จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้

1. ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. .... 
2. ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. .... 
3. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (ฉบับที่ ..)พ.ศ. ....
4. ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

 

ที่มา : คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร. (2564). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน. (https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/580076)

ผู้จัดทำ :
นริศรา เพชรพนาภรณ์, บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
สุกัญญา กัลยา, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
Created on