รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร

รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร

ประเทศไทยประกอบด้วย 24 ลุ่มน้ำหลัก พื้นที่ประมาณ 321.2 ล้านไร่ การใช้น้ำประมาณ 147,749 ล้านลูกบาศก์เมตร (พ.ศ. 2558) ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำในรูปแบบต่าง ๆ ได้เพียง 102,140 ล้านลูกบาศก์เมตร การใช้น้ำมี 4 ด้าน คือ การเกษตร อุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และรักษาระบบนิเวศน์

ผลการศึกษาสรุปปัญหาเป็น 2 ประเด็น คือ 

1. ปัญหาจากความไม่สมดุลของทรัพยากรน้ำ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำ (สำหรับอุปโภคบริโภค ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการและการท่องเที่ยว) น้ำท่วม คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม และน้ำเค็มรุกล้ำ และ 
2. ปัญหาการบริหารจัดการ ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านงบประมาณ ด้านกฎหมาย ด้านข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการน้ำและการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน ด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน

ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหา ดังนี้ 

1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ควรกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาน้ำให้ชัดเจน
2. การถ่ายโอนภารกิจเกี่ยวกับแหล่งน้ำให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. ควบคุมการขุดเจาะบ่อดาบาล 
4. การก่อสร้างประตูกั้นน้ำเค็มต้องผ่านกระบวนการรับฟังและการมีส่วนร่วมของประชาชน และใช้เทคโนโลยีในการผลิตน้ำจากน้ำกร่อย 
5. การจัดหาน้ำอุปโภคสำหรับเกาะที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ส่วนระดับท้องถิ่นต้องคำนึงถึงความยั่งยืนของแหล่งน้ำดิบและลงทุนพัฒนาแหล่งน้ำดิบของตนเอง และ 
6. การทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ควรมีองค์กรอิสระในการควบคุมการจัดทำรายงานแทนการจ้างจากเจ้าของโครงการ

 

ที่มา :

  • คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร. (2563). รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร.
  • https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/571850
ผู้จัดทำ :
นริศรา เพชรพนาภรณ์, บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
สุกัญญา กัลยา, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
Created on