วัคซีนแล้ว ยังมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อ

วัคซีนแล้ว ยังมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อ

ตามหลักการควบคุมโรค วัคซีนที่ดีที่สุด คือวัคซีนที่สามารถป้องกันความสูญเสียทางสุขภาพจากการติดเชื้อ ตั้งแต่ลดโอกาสการติดเชื้อ การเจ็บป่วย การเสียชีวิตของผู้ได้รับวัคซีน และลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ได้รับวัคซีนไปยังบุคคลอื่น เริ่มมีการศึกษาผลของวัคซีนในการลดการติดเชื้อและการแพร่เชื้อทยอยเผยแพร่ออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประสิทธิภาพต่อเชื้อกลายพันธุ์ ภูมิต้านทานโรคโควิด-19 หลังฉีดวัคซีน Sinovac และ AstraZeneca

ภูมิต้านทานของผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca

  • 1 เข็ม
  • ภายในสัปดาห์ที่ 4 ร้อยละ 98.3
  • ค่าเฉลี่ยมัธยฐาน 47.5 u/ml

ภูมิต้านทานของผู้ที่ฉีดวัคซีน Sinovac

  • ครบ 2 เข็ม
  • ภายในสัปดาห์ที่ 4 ร้อยละ 99.4
  • ค่าเฉลี่ยมัธยฐาน 85.9 u/ml

ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ

  • ภายในสัปดาห์ที่ 4-8 ร้อยละ 92.4
  • ค่าเฉลี่ยมัธยฐาน 60.9 u/ml

คำแนะนำจากแพทย์

ข้อมูลนี้เป็นกรณีศึกษาค่าความแตกต่างของระดับภูมิต้านทาน จากกลุ่มตัวอย่างบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดในประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่ค่ามาตรฐานในการสร้างภูมิต้านทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่สิ่งที่ยืนยันได้ชัดเจนจากกรณีศึกษานี้ คือ ร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนจะสร้างภูมิต้านทานได้ดี

แม้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ เราจึงยังต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อย ๆ เพื่อเป็นการป้องกันโรคโควิด-19 ในระยะยาว

 

ที่มา : ยง ภู่วรวรรณ. ภูมิต้านทานโรคโควิด-19 หลังฉีดวัคซีน Sinovacและ AstraZeneca. (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ภูมิต้านทานโรคโควิด-19-หล/)

ผู้จัดทำ :
วัลยา พุ่มต้นวงค์, บรรณารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
ธัญญาภัทร์ โทจำปา, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
Created on