รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ญัตติพิจารณาศึกษาแนวทางในการวางแผนการผลิตบัณฑิต ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและนโยบายไทยแลนด์ 4.0

รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ญัตติพิจารณาศึกษาแนวทางในการวางแผนการผลิตบัณฑิต ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและนโยบายไทยแลนด์ 4.0

ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาคุณภาพของบัณฑิตและกำลังคนที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและผู้เรียน จากการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอแนะแนวปฏิบัติระยะสั้น ดังนี้

1. ควบรวมหลักสูตรร้อยละ 25 และเพิ่มหลักสูตรใหม่ที่ตลาดแรงงานต้องการร้อยละ 20
2. จัดตั้งกองทุนพัฒนาอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงหลักสูตร
3. ขยายผลโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อให้เกิดการปรับปรุงหลักสูตร โดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวให้หลักสูตรที่ปรับปรุงแล้ว
4. ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เปลี่ยนการใช้ช่วงเวลาของการบรรยายเนื้อหาในห้องเรียนเป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อฝึกแก้โจทย์ปัญหาและประยุกต์ใช้จริง ส่วนเนื้อหาที่เคยถ่ายทอดผ่านการบรรยายในห้องเรียนให้เปลี่ยนเป็นสื่อที่นักเรียนสามารถศึกษาได้เอง
5. เปิดหลักสูตรเฉพาะที่ตอบโจทย์ประชากรในวัยทำงาน ให้สะสมหน่วยกิตในรูปแบบธนาคารหน่วยกิต
6. การพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยพัฒนาตามความถนัด 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) งานด้านการสอน 2) งานด้านการวิจัย และ 3) งานด้านการบริการวิชาการ
7. ปรับปรุงกฎระเบียบ เรื่อง เกณฑ์ภาระงาน อาทิ ลดภาระงานด้านเอกสารของการประเมินคุณภาพ และปรับปรุงกฎระเบียบ เรื่อง ค่าตอบแทน อาทิ การให้ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ตามความถนัด

 

ที่มา : คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร. (2564). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ญัตติพิจารณาศึกษาแนวทางในการวางแผนการผลิตบัณฑิต ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและนโยบายไทยแลนด์ 4.0. (https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/580225)

ผู้จัดทำ :
นริศรา เพชรพนาภรณ์, บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
สุกัญญา กัลยา, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
Created on