ตัดวงจรรัฐประหาร

ตัดวงจรรัฐประหาร

หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดรัฐประหาร โดยในช่วงแรกของหนังสือเป็นการกล่าวถึงอารัมภบทของงานวิจัย โดยชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อการคงอยู่ของรัฐ ทั้งในแง่การป้องกันประเทศและการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน รวมถึงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนอำนาจทางการเมืองของผู้ปกครอง จากนั้นได้นำเสนอแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่จะสามารถหยุดการทำรัฐประหารได้ไม่จะเป็นทฤษฎีว่าด้วยการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร ทฤษฎีว่าด้วยการตัดวงจรรัฐประหาร ทฤษฎีว่าด้วยเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่ว และทฤษฎีว่าด้วยการสร้างระบอบประชาธิปไตยให้มีเสถียรภาพ

พร้อมกันนี้ได้นำเสนอกรณีศึกษาจากต่างประเทศที่มีเหตุการณ์และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารโดยเปรียบเทียบประสบการณ์ของการแทรกแซงทางการเมืองของทหารใน 5 ประเทศ ได้แก่

  • ประเทศสเปนศึกษาบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการต่อต้านการรัฐประหาร
  • ประเทศโปรตุเกสศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยในเงื้อมมือของทหาร
  • ประเทศกรีซศึกษากรณีสงครามการเมืองและการเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
  • ประเทศตุรกีศึกษาการรัฐประหารในรอบ 50 ปี และ
  • ประเทศเกาหลีศึกษาการพัฒนาการทางการเมืองสู่ประชาธิปไตย

สาเหตุและผลของปฏิวัติรัฐประหารในรอบ 88 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2563 และการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นการตัดวงจรรัฐประหารในประเทศไทย โดยวิเคราะห์ทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในว่ามีตัวแปรใดบ้างที่จะเป็นตัวช่วยในการป้องกันการรัฐประหารที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในอนาคตข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยกับบทบาทของสถาบันนิติบัญญัติ บทบาทของศาลสถิตยุติธรรมกับการลงโทษผู้ก่อการรัฐประหาร รวมถึงบทบาทของขบวนการภาคประชาชนกับการต่อต้านการรัฐประหาร หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนการศึกษานำร่องเพื่อหาแนวทางและบทเรียนสำคัญในการป้องกันการรัฐประหารและแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อนำมาใช้ในประเทศไทย 

หนังสือ "ตัดวงจรรัฐประหาร" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2563). ตัดวงจรรัฐประหาร. [JC 494 ธ636ต 2563]

ผู้จัดทำ :
พจพิณ พรมเอี่ยม, บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
สุพัณดา สุภาพ, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
Created on