ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์สุขภาวะ, บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ, LGBTIQN+

ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย เล่มนี้เป็นเอกสารวิชาการฉบับแรกที่มาจากความต้องการของบุคคลทุกกลุ่มที่เป็นความหลากหลายทางเพศโดยแท้จริง และความมุ่งหวังว่าจะสามารถบรรลุตามวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ว่า "ประชากรกลุ่ม LGBTIQN+ เข้าถึงความเป็นธรรมทางสุขภาพ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยอัตลักษณ์ทางเพศสภาพและเพศวิถี ตลอดจนปัจจัยการกดขี่ทับซ้อน ได้รับการปกป้องคุ้มครองในสิทธิทางสุขภาวะ สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีสุขภาวะองค์รวมทั้งทางร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม เพื่อให้ประชากร LGBTIQN+ ในฐานะที่เป็นพลเมืองสุขภาวะได้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสุขภาพดีร่วมกัน"

หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย เนื้อหาที่น่าสนใจหลายประเด็น อาทิ ภาพขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่ม LGBTIQN+ ในประเทศไทยและต่างประเทศ เรื่องราวและสถานการณ์ชีวิตของกลุ่ม LGBTIQN+ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 สถานภาพองค์ความรู้สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2493-2563 เพื่อค้นหาประเด็นที่สังคมควรทำความเข้าใจหรือศึกษาเพิ่มเติมอย่างไร หรือมีประเด็นใดที่ยังไม่มีการศึกษา เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่ม Intersex และ Non-Binary ทั้งการเสนอภาพกรณีศึกษาการทำงานเพื่อสร้างสุขภาวะ LGBTIQN+ ของประเทศแคนาดาที่ได้เชื่อมโยงให้เห็นภาพรวมของงานด้านนี้ในประเทศไทยไว้ด้วยอย่างน่าสนใจ สำหรับประเด็นสุดท้ายเป็นข้อเสนอยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ รวม 5 ด้าน โดยผู้เขียนได้แจกแจงรายละเอียดของเหตุผล เป้าหมาย และตัวอย่างของการดำเนินงานในแต่ละด้านไว้ด้วยข้อเสนอในการทำงานเพื่อสุขภาวะของ LGBTIQN+ ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้

หนังสือ "ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : ชเนตตี ทินนาม. (2564). ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย. [HQ 73.3.T5 ช154ย 2564]

ผู้จัดทำ :
ชวนพิชญ์ รัตนาไพบูลย์, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
อรุณทิพย์ จันทร์ดิษฐ์, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
Created on