รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร

รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. จัดตั้งขึ้นตามประกาศพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียน หรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตระหว่างศึกษา ตามเจตนารมณ์ที่ต้องการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

ปัจจุบันมีผู้กู้ยืมทั้งสิ้น 5.77 ล้านราย เป็นเงิน 6.22 แสนล้านบาท แต่กองทุนฯ ประสบปัญหาการผิดนัดชำระหนี้สูงถึงร้อยละ 60 สภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนฯ ให้มีความเหมาะสม เป็นธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย โดยยึดหลักการมีวินัยทางการเงินและความรับผิดชอบต่อสังคม และหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนฯ เพื่อให้กองทุนฯ สามารถดำเนินงานต่อไปได้

ผลการศึกษาเป็น 4 แนวทาง คือ

1. แนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนฯ ในกรณีเร่งด่วน 
2. แนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนฯ จากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 
3. แนวทางในการบริหารจัดการกองทุนฯ ในอนาคต และ 
4. แนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างในการบริหารจัดการกองทุนฯ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560

 

ที่มา :

  • คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร. (2563). รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร.
  • https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/569227
ผู้จัดทำ :
นริศรา เพชรพนาภรณ์, บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
สุกัญญา กัลยา, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
Created on