ปัจจุบันมีปัจจัยหลายประการที่ผลักดันให้ภาครัฐต้องทบทวนบทบาทและการทำงานของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นบริบทการเปลี่ยนแปลงที่พลิกผันอย่างรวดเร็ว ความเชื่อมโยงของสถานการณ์โลกและสภาวะวิกฤตต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ปัญหาซับซ้อนที่มีรูปแบบไม่แน่นอน มีความเฉพาะเจาะจง และไม่สามารถใช้แนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิมได้อีกต่อไป ผลกระทบของภูมิศาสตร์การเมืองที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง การพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ ความน่าเชื่อถือของภาครัฐและความคาดหวังในภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนการแข่งขันบนความได้เปรียบของข้อมูล ภายใต้ปัจจัยผลักดันดังกล่าว ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน โดยการพัฒนาและปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นการดำเนินงานปฏิรูปประเทศที่สำคัญในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายให้ภาครัฐยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” ซึ่งต้องมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจพร้อมปรับตัว มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารราชการ บูรณาการการทำงานและฐานข้อมูลภาครัฐ พัฒนาโครงสร้างและระบบการบริหารงานของรัฐ รวมถึงแผนกำลังคนภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
การสร้างระบบนิเวศในการทำงาน (Ecosystem) จึงมีความสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยการพัฒนาความคิด ทักษะสำหรับการทำงานและการดำเนินชีวิตท่ามกลางความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสภาพแวดล้อมและระบบการทำงาน ทั้งทางกายภาพที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรภาครัฐสามารถแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังตามกรอบความคิด (Mindset) ทักษะ (Skillsets) ออกมาได้อย่างมีประสิทธิผลและต่อเนื่อง โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
ในส่วนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบนิเวศในการทำงาน โดยได้กำหนดประเด็นการพัฒนาเพื่อการสร้างระบบนิเวศในการทำงาน (Ecosystem) ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ 1) ศักยภาพพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (Agile Organization) และแข่งขันได้ด้วยนวัตกรรม และ 2) พัฒนากรอบความคิด (Mindset) และสมรรถนะของบุคลากรให้เท่าทันในศตวรรษที่ 21 (คนดี คนเก่ง และคนกล้า) ซึ่งเป็นการดำเนินงานของภาครัฐให้มีระบบนิเวศในการทำงานที่เหมาะสมและสอดรับกับบริบทแวดล้อมที่สามารถส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐเกิดการเรียนรู้ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังออกมาอย่างมีประสิทธิผล
Copyright © 2022 National Assembly Library of Thailand
The Secretariat of the House of Representatives
1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
Tel: +66(0) 2242 5900 ex 5714, 5715, 5721-22 Fax: +66(0) 2242 5990
Email: library@parliament.go.th