พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562

Script Writer
วิริยะ คล้ายแดง, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ
Broadcast Date
2023-10
Publication type
Publisher
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

อุตสาหกรรมการประมงเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งด้านการเป็นแหล่งอาหารสำหรับประชากรในประเทศ แหล่งการจ้างงาน สร้างรายได้และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น แรงงานในกิจการประมงจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ แต่งานประมงเป็นงานที่มีลักษณะความเสี่ยงภัยสูงและสภาพการทำงานต่อเนื่องยาวนาน แตกต่างจากการทำงานโดยทั่วไป แรงงานประมงจึงเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความยากลำบากและมีความเสี่ยงอันตรายในการประกอบอาชีพอยู่ตลอดเวลา แต่เดิมนั้นการให้ความคุ้มครองแรงงานกลุ่มนี้ยังไม่เหมาะสม ทั้งในด้านสภาพการจ้างงาน สิทธิประโยชน์ หรือสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งทำให้แรงงานในงานประมงทะเลขาดหลักประกันในการทำงานที่มั่นคงเพียงพอและความมั่นคงในการทำงาน ด้วยเหตุที่งานประมงมีสภาพการทำงานที่แตกต่างจากการทำงานในภาคธุรกิจเอกชนทั่วไปซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรการในการคุ้มครองแรงงานต่าง ๆ จึงไม่สามารถใช้บังคับกับแรงงานในงานประมงได้อย่างเหมาะสม 

ต่อมา ในวันที่ 30 มกราคม 2562 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่คุ้มครองการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานบนเรือประมง โดยมีข้อกำหนดที่มีผลผูกมัดเกี่ยวกับการทำงานบนเรือประมงที่รวมถึงความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและสุขภาพ เวลาพักผ่อน การดูแลทางการแพทย์ขณะที่ออกทะเลและที่ชายฝั่ง ข้อตกลงการทำงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการประกันสังคม รวมทั้งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าเรือประมงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับแรงงานประมงบนเรือ โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว 

ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา ฉบับที่ 188 แล้ว จึงมีพันธกรณีตามอนุสัญญาที่ต้องอนุวัติการกฎหมายให้เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญา เพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองแรงงานในภาคประมงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานในการคุ้มครองแรงงานในภาคประมงของอนุสัญญา ประเทศไทยจึงตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการกำหนดหน้าที่ของเจ้าของเรือและการปฏิบัติหน้าที่ของแรงงานประมงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อคุ้มครองสิทธิของแรงงานประมงและป้องกันการบังคับใช้แรงงานในงานประมงที่มีความแตกต่างจากการทำงานของลูกจ้างทั่วไป เนื่องจากมีความเสี่ยงภัยทางทะเลและมีระยะเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน 

อุตสาหกรรมการประมงเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งด้านการเป็นแหล่งอาหารสำหรับประชากรในประเทศ แหล่งการจ้างงาน สร้างรายได้และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น แรงงานในกิจการประมงจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ แต่งานประมงเป็นงานที่มีลักษณะความเสี่ยงภัยสูงและสภาพการทำงานต่อเนื่องยาวนาน แตกต่างจากการทำงานโดยทั่วไป แรงงานประมงจึงเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความยากลำบากและมีความเสี่ยงอันตรายในการประกอบอาชีพอยู่ตลอดเวลา แต่เดิมนั้นการให้ความคุ้มครองแรงงานกลุ่มนี้ยังไม่เหมาะสม ทั้งในด้านสภาพการจ้างงาน สิทธิประโยชน์ หรือสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งทำให้แรงงานในงานประมงทะเลขาดหลักประกันในการทำงานที่มั่นคงเพียงพอและความมั่นคงในการทำงาน ด้วยเหตุที่งานประมงมีสภาพการทำงานที่แตกต่างจากการทำงานในภาคธุรกิจเอกชนทั่วไปซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรการในการคุ้มครองแรงงานต่าง ๆ จึงไม่สามารถใช้บังคับกับแรงงานในงานประมงได้อย่างเหมาะสม 

ต่อมา ในวันที่ 30 มกราคม 2562 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่คุ้มครองการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานบนเรือประมง โดยมีข้อกำหนดที่มีผลผูกมัดเกี่ยวกับการทำงานบนเรือประมงที่รวมถึงความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและสุขภาพ เวลาพักผ่อน การดูแลทางการแพทย์ขณะที่ออกทะเลและที่ชายฝั่ง ข้อตกลงการทำงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการประกันสังคม รวมทั้งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าเรือประมงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับแรงงานประมงบนเรือ โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว 

ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา ฉบับที่ 188 แล้ว จึงมีพันธกรณีตามอนุสัญญาที่ต้องอนุวัติการกฎหมายให้เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญา เพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองแรงงานในภาคประมงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานในการคุ้มครองแรงงานในภาคประมงของอนุสัญญา ประเทศไทยจึงตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการกำหนดหน้าที่ของเจ้าของเรือและการปฏิบัติหน้าที่ของแรงงานประมงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อคุ้มครองสิทธิของแรงงานประมงและป้องกันการบังคับใช้แรงงานในงานประมงที่มีความแตกต่างจากการทำงานของลูกจ้างทั่วไป เนื่องจากมีความเสี่ยงภัยทางทะเลและมีระยะเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ภาพปก