คำว่า “รัฐบาล” ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง “องค์กรปกครองประเทศ หรือคณะบุคคลที่ใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศ” แต่ในความหมายที่มักเข้าใจกันเป็นการทั่วไปว่าหมายถึง “ฝ่ายบริหาร” ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ในความเข้าใจดังกล่าวอาจยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากความหมายของคำว่า “รัฐบาล” นั้น มีความหมายที่กว้างครอบคลุมไปถึง “ฝ่ายปกครอง” ด้วย เนื่องจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีแต่ละคนมีอำนาจหน้าที่เป็นการเฉพาะเจาะจงในการบังคับบัญชาสั่งการเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่สังกัดกระทรวงที่ตนเองรับผิดชอบ และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายแต่ละฉบับ ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
ตามรัฐธรรมนูญกำหนดว่า รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีเป็นอันต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้รัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีใช้ระยะเวลาในช่วงรักษาการ สร้างประโยชน์แก่ตนเองหรือพรรคการเมืองที่ตนสังกัด ซึ่งอาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบและไม่เป็นธรรมกับผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองอื่น รัฐธรรมนูญจึงกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการไว้ ดังนี้
นอกจากนี้ การดำเนินงานของรัฐบาลรักษาการยังต้องคำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ความสุจริต เที่ยงธรรม ความเสมอภาค และโอกาสทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังมีกรณีที่คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งแต่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้ อาทิ เนื่องจากเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 167 (4) เพราะเหตุตามมาตรา 144 เกี่ยวกับเรื่องการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้กระทำการหรืออนุมัติให้กระทำการหรือรู้ว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนในการเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายแล้วแต่มิได้สั่งยับยั้ง หรือในกรณีคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปลาออกทั้งคณะ และเป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการให้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามมาตรา 158 และไม่สามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ตามมาตรา 159 ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือยังดำเนินการตามมาตรา 158 และมาตรา 159 ไม่แล้วเสร็จ ให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆ เฉพาะเท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน โดยให้ปลัดกระทรวงคัดเลือกกันเองให้คนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
สำหรับหลักการในการให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ารัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่หรือที่เรียกว่า “รัฐบาลรักษาการ” นั้น เป็นหลักการที่ประเทศต่าง ๆ ใช้กันโดยทั่วไปเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และจะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้เท่านั้นเพื่อป้องกันมิให้รัฐบาลหรือรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีใช้ระยะเวลาในช่วงรักษาการ แสวงหาผลประโยชน์ในทางการเมืองให้แก่ตนเองหรือพวกพ้อง
Copyright © 2022 National Assembly Library of Thailand
The Secretariat of the House of Representatives
1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
Tel: +66(0) 2242 5900 ex 5714, 5715, 5721-22 Fax: +66(0) 2242 5990
Email: library@parliament.go.th