Sitting of Parliament

อินโฟกราฟิก เรื่อง ประชุมลับ

ประชุมลับ หมายถึง การประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา การประชุมร่วมกันของรัฐสภา และการประชุมคณะกรรมาธิการ ซึ่งกระทำเป็นการลับตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภา เช่น คณะรัฐมนตรีร้องขอให้ประชุมลับ เป็นต้น และเมื่อมีการประชุมลับ บุคคลภายนอกหรือแม้แต่สื่อมวลชนก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการประชุม

อ่านเพิ่มเติม

ศัพท์ประชุมลับ

อินโฟกราฟิก เรื่อง ปฏิญาณตน

ปฏิญาณตน หมายถึง พิธีการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ต้องกระทำก่อนเข้ารับหน้าที่โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้คำมั่นสัญญาต่อที่ประชุมรัฐสภา

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาให้คำมั่นสัญญาต่อที่ประชุมที่ตนเป็นสมาชิกว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนก่อนเริ่มต้นการปฏิบัติหน้าที่

อ่านเพิ่มเติม

ศัพท์ปฏิญาณตน

อินโฟกราฟิก เรื่อง บันทึกการออกเสียงลงคะแนน

บันทึกการออกเสียงลงคะแนน หมายถึง การจัดทำบันทึกการออกเสียงในการลงคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกรัฐสภา โดยให้เลขาธิการของแต่ละสภาจัดทำบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนและให้เปิดเผยบันทึกการออกเสียงลงคะแนนไว้ ณ บริเวณสภาเพื่อให้สมาชิกตรวจดูได้ รวมทั้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น และเพื่อให้ประชาชนทราบได้ทั่วไปด้วย เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ ทั้งนี้ สมาชิกมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมบันทึกการออกเสียงลงคะแนนให้ตรงตามที่เป็นจริงได้

อ่านเพิ่มเติม

อินโฟกราฟิก เรื่อง กระบวนการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ขั้นตอนการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562

หมวด 1 การเลือกประธานสภาและรองประธานสภา

ข้อ 6 การเลือกประธานสภา ​ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ ​ การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ให้ผู้ถูกเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุมภายในระยะเวลาที่ประธานกำหนด โดยไม่มีการอภิปราย ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ ให้ประธานประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุม ​ ​

อินโฟกราฟิก เรื่อง สมุดจดชวเลขและภาพนักชวเลขชุดแรกของรัฐสภา

91 ปี รัฐสภา
เดือนมิถุนายน 2475 เป็นเดือนสำคัญแห่งการสร้างประชาธิปไตยของประเทศไทย เพราะเป็นเดือนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

ครบ 91 ปี แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงขอนำเสนอเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นความทรงจำ เป็นประวัติศาสตร์ของรัฐสภา ซึ่งภาพและข้อมูลบางส่วนนำมาจากกลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

วันนี้ขอเสนอ สมุดจดชวเลขและภาพนักชวเลขชุดแรกของรัฐสภา

อินโฟกราฟิก เรื่อง สมาชิกขอหารือก่อนเข้าระเบียบวาระ

ศัพท์รัฐสภา คำว่า "สมาชิกขอหารือก่อนเข้าระเบียบวาระ" โดยคณะทำงานรวบรวมและปรับปรุงคำศัพท์รัฐสภาไทย

อินโฟกราฟิก เรื่อง การประชุมร่วมกันของรัฐสภา

ศัพท์รัฐสภา "การประชุมร่วมกันของรัฐสภา" จัดทำโดยคณะทำงานรวบรวมและปรับปรุงคำศัพท์รัฐสภาไทย

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา หมายถึง การประชุมร่วมกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเพื่อพิจารณาหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้ทั้งสองสภาประชุมร่วมกัน ในกรณีต่อไปนี้

อินโฟกราฟิก เรื่อง 4 นโยบายการบริหารคณะสงฆ์

4 นโยบายการบริหารคณะสงฆ์

เมื่อคราการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 16 วันที่ 23 สิงหาคม 2481 รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ยื่นเสนอขอนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร​ ในหลักการพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ โดยเสนอหลักการให้พิจารณา 4 หลักการ ซึ่ง น.อ. หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ได้ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้

Subscribe to Sitting of Parliament