พิธีเปิดการประชุมเชิงนโยบาย เรื่อง “พิเคราะห์ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 จากสถานการณ์โควิด 19 : ข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปรับปรุง”

ประเภท :
การประชุมและสัมมนา
หน่วยงาน :
กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
สถานที่ :
ห้องประชุม B1 - 2 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา

พิธีเปิดการประชุมเชิงนโยบาย เรื่อง “พิเคราะห์ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 จากสถานการณ์โควิด 19 : ข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปรับปรุง” จัดโดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.)

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม B1 - 2 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย รศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รองผู้อำนวยการภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงนโยบาย เรื่อง “พิเคราะห์ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 จากสถานการณ์โควิด 19 : ข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปรับปรุง ” จัดโดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.)

จากนั้น เป็นการนำเสนอรายงานการวิจัย เรื่อง "โครงการศึกษา ประสิทธิผล ปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558" โดย รศ.ดร.ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา อาจารย์ประจำคณะสหวิทยาการวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.แสงเดือน มูลสม ผู้ประสานงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งประเทศไทย (THOHUN) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร นิรมัย พิศแข มั่นจิตร รองคณบดี ศูนย์ลำปาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำหรับการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทางภาคนโยบายและหน่วยงานดำเนินการภาคปฏิบัติ ซึ่งหัวข้อที่ประชุมในวันนี้เป็นประเด็นในความสนใจของประชาชนและส่งผลกระทบในวงกว้าง ตลอดจนผลการประชุมเชิงนโยบายจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการ และบุคลากรในวงงานรัฐสภา นอกจากนี้แล้วยังมีการแสดงนิทรรศการผลงานวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดแสดงผลงาน ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา ระหว่างวันที่ 12 - 26 ก.ค. 65 โดยมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การแพทย์และสุขภาพ อาหารมูลค่าสูง เศรษฐกิจฐานราก และสังคมคาร์บอนต่ำ

แหล่งที่มา : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร