การดูแลรักษาหนังสือโบราณ

การดูแลรักษาหนังสือโบราณ

การดูแลรักษาวัตถุทางวัฒนธรรมด้วยหลักวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์ หมายถึง การชะลอการชำรุดเสื่อมสภาพที่จะเกิดขึ้นกับวัตถุที่มีคุณค่า ด้วยการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมืออุปกรณ์ และใช้กระบวนการทางวิทยาการที่เกี่ยวเนื่องกัน สาเหตุความเสี่ยงที่ทำให้หนังสือโบราณเสื่อมสภาพ ตลอดจนแนวทางป้องกันการเสื่อมสภาพของหนังสือโบราณ มีดังนี้

1. แสงและความร้อน ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดและไฟส่องสว่าง และการวางตู้บริเวณที่แสงแดดส่องถึงได้ เพิ่มระยะห่างระหว่างหนังสือกับหลอดไฟ เลือกหลอดไฟฟ้าที่มีแสงทั้งสองชนิดต่ำ ใช้แผ่นกรองแสงที่ออกมาจากหลอดไฟ ติดตั้งม่านเพื่อกรองรังสีจากแสงแดด

2. ความชื้น เป็นปัจจัยทำให้หนังสือ ปกบวมเปื่อยยุ่ย น้ำหมึกละลาย ควรป้องกันน้ำฝนเข้าอาคาร จัดวางหนังสือให้ห่างจากประตู หน้าต่าง หลีกเลี่ยงการนำน้ำดื่ม แจกันดอกไม้ เข้ามาภายในอาคาร เพิ่มระบบถ่ายเทอากาศภายในห้อง เช่น เพิ่มพัดลมติดเพดาน พัดลมติดผนัง หลีกเลี่ยงการจัดวางตู้หรือชั้นหนังสือติดชิดผนัง

3. มลพิษในอากาศ เกิดได้ทั่วไปจากธรรมชาติ เช่น ละอองเกสร ดอกไม้ เกิดจากก๊าซ เช่นไอของสารเคมี ควรทำความสะอาดห้องเป็นประจำ ปรับปรุงหน้าต่างช่องลมให้อยู่ในสภาพที่ดี ปรับปรุงห้องให้มีระบบปรับอากาศ ควบคุมความชื้น ติดตั้งเครื่องกรองอากาศที่ใช้ถ่านกัมมันต์ไว้ภายในห้อง เพื่อกรองฝุ่น จัดเก็บหนังสือใส่กล่อง ตู้ หรือคลุมด้วยผ้าฝ้ายขาวสะอาด เพื่อป้องกันการสัมผัสฝุ่น

4. สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ แมลงสาบ หนอนหนังสือ แมลงสามง่าม เชื้อรา หนู หลีกเลี่ยงการนำน้ำ อาหาร เข้าภายในห้อง เก็บรักษาหนังสือในพื้นที่ปิดมิดชิด

5. การหยิบจับและห่อบรรจุ อาจทำให้หนังสือเกิดคราบสกปรกจากมือ ควรเลือกวัสดุที่ไร้กรด นุ่ม เรียบ สะอาด เพื่อห่อหุ้มหนังสือให้มิดชิดและรัดด้วยเชือกฝ้ายพร้อมห้อยป้ายทะเบียนให้ชัดเจน

 

ที่มา : ศรีสมบูรณ์. (2561). การดูแลรักษาหนังสือโบราณ. [Z 701.3.R37 พ469ก 2561]

ผู้จัดทำ :
วัลยา พุ่มต้นวงค์, บรรณารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
ธัญญาภัทร์ โทจำปา, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันที่