การปฏิรูปอุดมศึกษาไทยตามหลักการบริหารจัดการภาครัฐ

การปฏิรูปอุดมศึกษาไทยตามหลักการบริหารจัดการภาครัฐ

หลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management ; NPM)

ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในการรับผู้สำเร็จการศึกษาของภาคธุรกิจ ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปอุดมศึกษาเพื่อปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และการปฏิรูปอุดมศึกษาเป็นประเด็นการอภิปรายในทางวิชาการและในทางการเมืองมาในหลายยุคสมัยด้วยกัน โดยที่โจทย์ในการปฏิรูปอุดมศึกษาในส่วนต่าง ๆ ของโลก ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปด้วย

ความมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยฉบับนี้ จึงได้นำเสนอความเป็นไปได้ในการนำ หลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) มาปรับใช้กับอุดมศึกษาไทย โดยได้นำการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศเยอรมนีที่ได้มีการนำหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาปรับใช้แล้ว มาเป็นตัวอย่างในกรณีศึกษาครั้งนี้

เพื่อศึกษาว่า การนำหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาปรับใช้กับการบริหารงานมหาวิทยาลัยของรัฐได้อย่างไร รวมถึงก่อให้เกิดผลสำเร็จเพียงใด ทั้งนี้ เพื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวมาเทียบเคียงกับการปฏิรูปอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยเฉพาะการนำมหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบราชการ โดยการเปลี่ยนสถานะทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั้น แม้จะสอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่อยู่หลายประการ แต่ยังมีกลไกสำคัญที่ยังไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิรูปอุดมศึกษา ซึ่งกลไกเช่นว่านั้นถ้านำมาใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยไทย เพื่อให้มีความเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    
หนังสือ "การปฏิรูปอุดมศึกษาไทยตามหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ : การปรับใช้ประสบการณ์ของประเทศเยอรมนีในประเทศไทย : รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง"  นี้พร้อมให้บริการท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. (2563). การปฏิรูปอุดมศึกษาไทยตามหลักการบริหารจัดการภาครัฐ
แนวใหม่: การปรับใช้ประสบการณ์ของประเทศเยอรมนีในประเทศไทย : รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง. [ว LA 1223 ต237ก 2563]

ผู้จัดทำ :
ชวนพิชญ์ รัตนาไพบูลย์, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
อรุณทิพย์ จันทร์ดิษฐ์, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
วันที่