คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม

คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม

การอ้างอิงเอกสาร (reference citation) นับเป็นส่วนสำคัญในงานเขียนทางวิชาการทุกประเภท

หนังสือ เรื่อง คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม โดย เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง เป็นหนังสือที่ผู้แต่งมีความตั้งใจเขียนขึ้นเพื่อให้เป็นคู่มือและแนวทางการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม เนื่องจากการจัดทำผลงานทางวิชาการ งานวิจัย จะต้องมีการอ้างอิงเพื่อเป็นการบ่งบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ ซึ่งผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ที่จัดทำขึ้นจะมีความน่าเชื่อถือ เป็นการให้เกียรติเจ้าของผลงาน และเป็นประโยชน์แก่นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ที่ต้องการศึกษาหรือหาข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ รวมถึงเป็นการรักษามารยาทและจริยธรรมทางวิชาการ

โดยในหนังสือเล่มนี้จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับแนวคิดการเขียนอ้างอิง และยกตัวอย่างการเขียนอ้างอิงในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอ้างอิงเอกสารในเนื้อหา เช่น งานเขียนที่มีผู้แต่งจำนวนต่าง ๆ งานเขียนที่มีผู้รับผิดชอบ งานเขียนของผู้แต่งหลายคนที่อ้างอิงในคราวเดียวกัน ข้อความที่คัดลอกมาเพียงบางส่วน เอกสารที่ไม่สามารถหาต้นฉบับจริงได้ เป็นต้น การอ้างอิงเอกสารท้ายเรื่อง เช่น วารสาร หนังสือ รายงานการวิจัย การประชุมสัมมนา วิทยานิพนธ์ บทวิจารณ์หนังสือ สื่อโสตทัศน์ เอกสารบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่น่าสนใจเล่มหนึ่งที่จะทำให้นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ได้ใช้ประโยชน์จากตัวอย่างต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างขึ้น

หนังสือ "คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2563). คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม. [Z 666 ท668ค 2563]

ผู้จัดทำ :
อุดมศักดิ์ โกสิทธิ์, บรรณารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
ญานิกา เฟื่องฟุ้ง, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
วันที่