สรุปผลการประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 3 เรื่อง อนาคตประเทศไทยในมิติสิ่งแวดล้อมและพลังงาน: ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 3 เรื่อง “อนาคตประเทศไทยในมิติสิ่งแวดล้อมและพลังงาน: ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากสถาบันคลังสมองของชาติ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2564 ให้ดำเนินงานโครงการประสานงานสนับสนุนทุนวิจัยและผลักดันการใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยเชิงนโยบายตามความต้องการของฝ่ายนิติบัญญัติรัฐสภาและหน่วยงานภาครัฐ และดำเนินงานขับเคลื่อนให้ผลงานวิจัยของ วช. ได้นำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบกับเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เห็นชอบให้สำนักวิชาการดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565 เวลา 13.00-15.00 นาฬิกา โดยเป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

ที่มาและความสำคัญ: สถานการณ์ด้านการเปรียบเทียบสภาพภูมิอากาศ

  • สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานของประเทศไทย
  • สถานการณ์ด้านพลังงานทดแทน 
  • สถานการณ์ด้านมลพิษ
  • สถานการณ์ด้านขยะมูลฝอย

ผลการศึกษา:

  • ภาพอนาคตย่อยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ภาพอนาคตย่อยด้านพลังงาน
  • ภาพอนาคตย่อยด้านมลพิษ

ปัจจัยขับเคลื่อนในส่วนของการจัดการและบรรเทาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนปัจจัยขับเคลื่อนที่วิกฤติ คือ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งสามารถจัดทำได้ 4 ฉากทัศน์ 

1. Sustainability & Resilience ฉากทัศน์นี้ภาคส่วนต่าง ๆ ประชาชน ภาคประชาสังคมภาคธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงภาครัฐมีความตระหนัก รับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. Brawny: เป็นฉากทัศน์ที่ประเทศไทยมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่จำกัด และประเด็นสำคัญคือ การขาดการบูรณาการ

3. Gloomy: เป็นฉากทัศน์ที่เราไม่ต้องการจะไปถึงมากที่สุด

4. Green but vulnerable ประเด็นที่ว่าประเทศไทยยังมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างจำกัด

 

อนาคตหวังว่าจะสามารถขับเคลื่อนไปสู่ฉากทัศน์ที่เรียกว่า H3 ได้ โดยจะไปสู่ตรงนั้นได้ควรจะมีมาตรการดังนี้

1. การจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยากให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและแบบจำลองมากขึ้น 

2. การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านสื่อ

3. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ พยายาม engage ให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม

4. การกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานให้มีความชัดเจนและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น 

5. การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ

6. การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

7. เร่งผลักดันการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย

8. หน่วยงานด้านไฟฟ้าจำเป็นต้องมีการปรับตัวในด้านการเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม (Platform Provider) มากขึ้นในอนาคต

9. ส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ เพื่อรับมือกับปัญหาของ Climate Change

10. การดำเนินการเชิงรุก มีกลไกและเครือข่ายในการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยพิบัติและโรคอุบัติใหม่ในทุกระดับได้อย่างเป็นระบบ

11. การนำเครื่องมือหรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้สร้างแรงจูงใจให้ภาคส่วนต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

12. การดำเนินมาตรการจัดการมลพิษที่แหล่งกำเนิดควบคุมการห้ามเผาในที่โล่ง และยกระดับมาตรฐานการปล่อยมลพิษจากทั้งยานยนต์และภาคอุตสาหกรรม

วันที่เข้าร่วม :
2565-01-10
ปีที่เข้าร่วม :
2565
แหล่งที่มา :
ความรู้และประสบการณ์จากการอบรม ประชุม และสัมมนา
ผู้เรียบเรียง :
กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ
แฟ้มข้อมูล :